จดทะเบียนบริษัทประจันตคาม โทร:083-622-5555
อำเภอประจันตคาม ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดการบ้านเมืองทุกสิ่ง...ได้ยกบ้านขึ้นเป็นเมืองก็หลายตำบลเมืองมหาดไทย บ้านกบแจะยกขึ้นเป็นเมืองประจันตคาม ปัจจุบันมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปากช่องและอำเภอวังน้ำเขียว (จังหวัดนครราชสีมา)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนาดีและอำเภอกบินทร์บุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอศรีมหาโพธิ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี (จังหวัดนครนายก)
"จดทะเบียนบริษัทปราจีนบุรี บริการรับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท"
ในปี พ.ศ. 2369 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ ยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา เมื่อชาวเมืองนครราชสีมาได้รวมกำลังตีกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ แต่งทัพ และให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) เมื่อครั้งเป็นพระยาราชสุภาวดี เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเวียงจันทน์เพื่อปราบกบฏให้ราบคาบ
เมื่อตีเมืองเวียงจันทน์ได้แล้ว อพยพครอบครัวลี้พลบางส่วนจากเมืองเวียงจันทน์ เมืองมหาชัยกองแก้ว เมืองทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมืองสกลนคร และอีกหลายเมืองในภาคอีสานของไทยมาด้วย ท้าวอุเทน บุตรท้าวสร้อย เพียเมืองแสน พร้อมกับท้าวฟอง บุตรพระยาชัยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และท้าวอินทร์บุตรเจ้าเมืองสกลนคร ซึ่งคุมกำลังพลเป็นนายกองของทัพหัวเมืองซึ่งเจ้าเมืองส่งไปช่วยรบกับทัพเมืองกรุงได้นำคนที่ถูกอพยพมาตั้งกองรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้านใหญ่ในพื้นที่อำเภอประจันตคามในปัจจุบัน ต่อมาท้าวฟองยกกำลังไพร่พลแยกไปเลือกพื้นที่ตั้งเป็นเมืองอยู่ที่กบินทร์บุรี ท้าวอินทร์ยกกำลังไพร่พลไปเลือกพื้นที่ตั้งเป็นเมืองอยู่ที่พนัสนิคม ฝ่ายท้าวอุเทนได้รวบรวมกำลังไพร่พลไปเลือกที่ตั้งเมืองอีกเช่นกัน เลือกทำเลที่เหมาะสมได้ที่ดงยาง หรือบ้านเมืองเก่าปัจจุบันตั้งเป็นเมือง
เมืองประจันตคามจึงอุบัติขึ้นใน ปี พ.ศ. 2376 เมื่อตั้งเป็นเมืองเรียบร้อยแล้ว ท้าวอุเทนเจ้าเมืองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงภักดีเดชะ ว่าราชการเมืองได้ 2 ปีเศษ เกิดศึกญวนมาตีเมืองพนมเปญ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเมืองพนมเปญ และได้เกณฑ์เมืองประจันตคาม เมืองพนัสนิคม และ เมืองกบินทร์บุรี รวมเป็นกองทัพหน้าส่วนหนึ่ง ยกไปสู้รบข้าศึกญวน ทำการรบอยู่ประมาณ 3 ปีเศษ จึงขับไล่ข้าศึกญวนถอยไป เจ้าเมืองทั้ง 3 ผู้ร่วมรบมีความชอบในราชการทัพ เมื่อกลับมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่พระในนามเดิมทั้ง 3 ท่าน เจ้าเมืองประจันตคามจึงได้เป็นพระภักดีเดชะ
ต่อมาอีกประมาณ 1 ปี ข้าศึกหวนกลับมาตีเมืองพนมเปญอีก เจ้าเมืองตะวันออกได้รับใบบอกและโปรดให้เกณฑ์คนไปช่วยรบ พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ได้นำกำลังพลชาวเมืองประจันตคามเข้ากองทัพร่วมกับเจ้าเมืองกบินทร์เช่นครั้งก่อน ส่วนเจ้าเมืองพนัสนิคมในฐานะเป็นหัวเมืองใกล้ทะเลนัยว่าถูกเกณฑ์ไปเข้าประจำกองทัพเรือในกรุงเทพฯ ในการไปราชการทัพครั้งนี้ พระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) เจ้าเมืองประจันตคามเสียทีแก่ข้าศึกตายในที่รบเยี่ยงวีรบุรุษไทยในปัจจุบัน โดยสรุป พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) จึงเป็นเจ้าเมืองคนแรกอยู่ได้ 6 ปี ก็มาสิ้นชีพในที่รบ
ขณะนั้น เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) แม่ทัพเห็นว่าบุตรพระภักดีเดชะ(ท้าวอุเทน) ยังเยาว์นัก ไม่สามารถจะว่าราชการได้ จึงแต่งตั้งท้าวอินทร์บุตรของพี่สาวพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) ซึ่งเวลานั้นเป็นหลวงศักดาสำแดง ยกกระบัตร รั้งตำแหน่งเจ้าเมือง ท้าวคำ น้องท้าวอินทร์ ขณะนั้นเป็นขุนอรัญไพรศรี รั้งตำแหน่งปลัดเมืองควบคุมไพร่พลเมืองประจันตคามทำการรบต่อไป ราชการทัพครั้งที่ 2 นี้ รบอยู่ประมาณ 6 ปี จึงมีชัยชนะต่อข้าศึกญวน เมื่อเสร็จศึกสงครามกลับมาแล้ว หลวงศักดาสำแดง(ท้าวอินทร์) ผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองประจันตคามได้รับบำเหน็จความชอบในที่รบ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์) เจ้าเมืองประจันตคามสืบต่อเป็นท่านที่ 2 ขุนอรัญไพรศรี ผู้น้องเจ้าเมืองคนใหม่ เป็นหลวงสุรฤทธา ปลัดเมือง ส่วนท้าวโทบุตรเจ้าเมืองคนแรกซึ่งเสียชีวิตในที่รบ มีอายุและความสามารถพอจะรับราชการได้จึงได้รับบำเหน็จตกทอดจากบิดาให้เป็นขุนอรัญไพรศรี ซึ่งในระยะต่อมาภายหลังได้เลื่อนเป็นหลวงศักดาสำแดงยกกระบัตร พร้อมกับท้าวสุวรรณบุตร ท้าวสุโท หลานพี่สาวท้าวอุเทน ได้เป็นหลวงศรีวิเศษผู้ช่วยราชการขวาพระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์) เจ้าเมืองคนที่ 2 ว่าราชการเมืองอยู่นานถึง 44 ปี ก็สิ้นชีพตักษัย หลวงสุรฤทธา (ท้าวคำ) ปลัดเมือง น้องชายเจ้าเมืองคนที่ 2 ได้เลื่อนเป็นพระภักดีเดชะเจ้าเมืองคนที่ 3 หลวงศักดาสำแดง (ท้าวโท) เป็นหลวงสุรฤทธาปลัดเมือง พระภักดีเดชะ(ท้าวคำ) เป็นเจ้าเมืองคนที่ 3 เมื่ออายุมากแล้ว ว่าราชการอยู่ได้เพียง 6 ปี ก็สิ้นชีพตักษัย หลวงศรีวิเศษ (ท้าวสุวรรณ) ผู้ช่วยราชการขวา ได้เป็นพระภักดีเดชะเจ้าเมืองประจันตคามคนที่ 4 ส่วนหลวงสุรฤทธา (ท้าวโท) ปลัดเมือง บุตรพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) เจ้าเมืองคนแรกเป็นง่อย ไม่สามารถรับราชการได้ขอลาออก จึงให้ท้าวพรหมา บุตรคนที่ 1 ของเจ้าเมืองคนเดิมเป็นขุนคลังขึ้นเป็นหลวงสุรฤทธา ปลัดเมืองแทน พระภักดีเดชะ(ท้าวสุวรรณ) ว่าราชการอยู่ 13 ปี ก็สิ้นชีพตักษัย ต่อจากนั้นมาในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรีกำลังทรงดำริปฏิรูปการปกครองหัวเมือง จะทรงยุบหัวเมืองเล็ก เช่น เมืองประจันตคาม เมืองกบินทร์บุรีลงเป็นอำเภอ จึงยังไม่ตั้งเจ้าเมืองอีก แต่ให้หลวงสุรฤทธา (ท้าวพรหมา) ปลัดเมืองรั้งราชการอยู่ 3 ปี ก็ถึงคราวยุบเมืองประจันตคามลงเป็นอำเภอ เรียกว่าอำเภอประจันตคาม ในปี พ.ศ. 2448 รวมระยะเวลาก่อตั้งเป็นเมืองประจันตคามอยู่ 72 ปี
อำเภอประจันตคามแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 106 หมู่บ้าน ได้แก่
1. ประจันตคาม (Prachantakham) 11 หมู่บ้าน
2. เกาะลอย (Ko Loi) 7 หมู่บ้าน
3. บ้านหอย (Ban Hoi) 10 หมู่บ้าน
4. หนองแสง (Nong Saeng) 6 หมู่บ้าน
5. ดงบัง (Dong Bang) 10 หมู่บ้าน
6. คำโตนด (Kham Tanot) 18 หมู่บ้าน
7. บุฝ้าย (Bu Fai) 13 หมู่บ้าน
8. หนองแก้ว (Nong Kaeo) 12 หมู่บ้าน
9. โพธิ์งาม (Pho Ngam) 19 หมู่บ้าน
ท้องที่อำเภอประจันตคามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลประจันตคาม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลประจันตคาม
เทศบาลตำบลโพธิ์งาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์งามทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลประจันตคาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประจันตคาม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลประจันตคาม)
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะลอยทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหอยทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแสงทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงบังทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลคำโตนด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำโตนดทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลบุฝ้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุฝ้ายทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแก้วทั้งตำบล
โปรโมชั่น จดทะเบียนบริษัทกับเราวันนี้
โปรโมชั่น สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่
พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่
ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม
โปรโมชั่น ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี
พิเศษ !!! ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี
เว็บไซต์ ราคาพิเศษ 3,500 สำหรับบริษัทพร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท
ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่าระบบออนไลน์
ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ
การจดทะเบียนธุรกิจ ประเภทต่างๆ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับกิจการที่เราจะทำ จำเป็นจะต้องพิจารณาให้ละเอียด เพื่อการเริ่มต้นที่ดี
คำถามที่พบบ่อย ?
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ร้านค้าจดทะเบียนบริษัทที่ไหน? จดบริษัทจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? จดบริษัทต้องใช้ผู้ก่อตั้งกี่คน? จดบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่? ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร บริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? บริษัทจดคนเดียวได้ไหม? บริษัทสามารถใส่วัตถุประสงค์ได้กี่ข้อ? จะรับงานราชการต้องจดทะเบียนแบบไหน? บริษัทจะต้องขึ้นประกันสังคมหรือไม่? ต้องมีลูกจ้างกี่คนถึงจะขึ้นประกันสังคม? จะเริ่มทำบัญชียังไง? ลูกค้าให้จดเป็นนิติบุคคล จะจดแบบไหนดี? มีชาวต่างชาติถือหุ้นด้วยจะจดบริษัทได้ไหม? การตั้งชื่อบริษัทควรจะตั้งอย่างไร? ถ้าเปิดบริษัทแต่ยังไม่มีรายได้ต้องเสียค่าทำบัญชีไหม ต้องปิดงบการเงินหรือไม่? ถ้ามีชื่อในบริษัทอื่นแล้ว จะตั้งบริษัทใหม่ได้ไหม? ทำบิล ทำใบกำกับภาษี ไม่เป็น จะทำยังไง? กรรมการบริษัท คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร? ผู้ถือหุ้น คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร ? จะเปิดบัญชีกับธนาคาร ในนามบริษัทต้องทำอย่างไร? ที่ตั้งบริษัท ใช้บ้านที่ต่างจังหวัดได้หรือไม่?……..
โทรหาเรา เพื่อขอรับคำปรึกษา โทร : 083-622-5555