รับทำงาน..............แบบนี้จะจดเป็นอะไรดี ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ร้านค้า ?
จดทะเบียนบริษัทที่ไหน ?  จดบริษัทจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?  จดบริษัทต้องใช้ผู้ก่อตั้งกี่คน ?  จดบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ ?  ถ้าไม่มีเงินทุนจดทะเบียนจริง จะทำได้หรือไม่?  จดบริษัทสถานที่เช่า จะใช้ได้หรือไม่ ?  ต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการจดบริษัท ?บริษัทกับหจก.อย่างไหนดีกว่า ? บริษัทกับห้างหุ้นส่วนต่างกันอย่างไร ? บริษัทจะต้องทำบัญชีหรือไม่ ? บริษัทจะเสียภาษีอย่างไร ? ค่าใช้จ่ายในการปิดงบการเงินเท่าไหร่ ? ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร ? บริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ? บริษัทจดคนเดียวได้ไหม ? บริษัทสามารถใส่วัตถุประสงค์ได้กี่ข้อ? จะรับงานราชการต้องจดทะเบียนแบบไหน ? บริษัทจะต้องขึ้นประกันสังคมหรือไม่ ?ต้องมีลูกจ้างกี่คนถึงจะขึ้นประกันสังคม ?  จะเริ่มทำบัญชียังไง?  ลูกค้าให้จดเป็นนิติบุคคล จะจดแบบไหนดี?  มีชาวต่างชาติถือหุ้นด้วยจะจดบริษัทได้ไหม?  การตั้งชื่อบริษัทควรจะตั้งอย่างไร?  ถ้าเปิดบริษัทแต่ยังไม่มีรายได้ต้องเสียค่าทำบัญชีไหม ต้องปิดงบการเงินหรือไม่ ?  ถ้ามีชื่อในบริษัทอื่นแล้ว จะตั้งบริษัทใหม่ได้ไหม ?  ทำบิล ทำใบกำกับภาษี ไม่เป็น จะทำยังไง?  กรรมการบริษัท คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร? ผู้ถือหุ้น คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร ?  จะเปิดบัญชีกับธนาคาร ในนามบริษัทต้องทำอย่างไร ?  ที่ตั้งบริษัท ใช้บ้านที่ต่างจังหวัดได้หรือไม่ ?


เรามีคำตอบให้ท่าน... เพียงโทร 094 491 4333 หรือ 083-622-5555

คำถามเกี่ยวกับจดทะเบียนบริษัทมีต่างชาติถือหุ้น

คำถาม

ความแตกต่างระหว่าง บริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด

คำตอบ

1. จำนวนร่วมลงทุน (จำนวนผู้ถือหุ้นหรือผู้ก่อตั้ง)
บริษัทจำกัด : จะต้องมีผู้ร่วมลงทุน หรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : จะต้องมีผู้ร่วมลงทุนหรือหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป

2. การลงทุน
บริษัทจำกัด : การลงทุนสำหรับการจดทะเบียนบริษัทนั้น จะเป็นลักษณะของ ทุนเรือนหุ้น (Capital stock) โดยที่ผู้ลงทุนจะต้องแบ่งทุนออกเป็นหุ้น แต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่าๆ กัน (มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท) และจะต้องเป็นการลงหุ้นต้วยเงินเท่านั้น
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คุณไม่ต้องแบ่งเป็นทุนเป็น ทุนเรือนหุ้น (Capital stock) เหมือนการจตทะเบียนบริษัทจำกัด และไม่ต้องกังวลเรื่องขึ้นต่ำของทุนจตทะเบียนด้วย เพราะการจดห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่ได้มีการกำหนตขั้นต่ำไว้ นั่นหมายความว่า คุณสามารถใช้จำนวนเงินลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนในห้างหุ้นส่วนกันทั้งหมด รวมถึง สามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สินและแรงงานเป็นทุนจดทะเบียนได้
เพิ่มเติม : การลงหุ้นด้วยแรงงาน จะต้องเป็นการลงทุนในรูปแบบของหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนจำพวกที่ไม่จำกัดความรับผิด) เท่านั้น หากเป็นหุ้นส่วนที่ต้องการจำกัดความรับผิด จะต้องลงหุ้นด้วยเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น ไม่สามารถลงหุ้นด้วยแรงงานได้

3. ความรับผิดในหนี้สิน
บริษัทจำกัด : เนื่องจากความรับผิตชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนจะรับผิตชอบเฉพาะเงินลงทุนในหุ้นที่ยังไม่ได้ชำระเท่านั้น
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : จะแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 ประเภท ไต้แก่
3.1 หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ (หุ้นส่วนผู้จัดการ) รับผิดชอบไม่จำกัดจำนวน
3.2 หันส่วนจำกัดความรับผิดชอบ (หุ้นส่วนทั่วไป) รับผิดชอบเท่าจำนวนหุ้นที่ลงไป

4. การประชุมสามัญประจำปี
บริษัทจำกัด : จะต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกปี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ไม่ต้องประชุมหุ้นส่วนประจำปี (ก็ได้)

5. การปิดงบประจำปี
บริษัทจำกัด : ผู้ที่สามารถเซ็นปิดงบได้ จะต้องเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) เท่านั้น
ห้างหุ้นส่วนจำกัด : ผู้ที่สามารถเซ็นปิดงบ จะเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ก็ได้

7. อัตราภาษี
ไม่ว่าคุณจะยื่นจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด คุณจะต้องจ่ายภาษีในรูปแบบของอัตราภาษีก้าวหน้า (อัตราภาษีที่จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเมือมีฐานภาษีเพิ่มขึ้น)

คำถาม

บริษัทจำกัดที่จดทะเบียนจัดตั้งภายใต้กฎหมายไทยจำเป็นจะต้องให้คนไทยถือหุ้นข้างมากหรือไม่ (คนไทยร้อยละ 51 คนต่างด้าวร้อยละ 49)

คำตอบ

ไม่จำเป็น แต่หากประสงค์จะให้คนต่างด้าวถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 บริษัทดังกล่าวก็จะมีสถานะเป็นคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลทำให้บริษัทไม่สามารถประกอบธุรกิจที่อยู่ในบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติฯ หรือต้องได้รับอนุญาตก่อนประกอบธุรกิจที่อยู่ในบัญชีสองหรือบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติฯ

คำถาม

บริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทยหากมีคนต่างชาติเป็นกรรมการบริษัทหรือเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะทำให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนั้นมีสถานะเป็นต่างด้าวหรือไม่

คำตอบ

กรณีบริษัทจำกัด การมีคนต่างชาติเป็นกรรมการบริษัทไม่มีผลทำให้บริษัทนั้นมีสถานะเป็นต่างด้าว หากหุ้นข้างมากของบริษัทนั้นถือโดยคนไทย แต่กรณีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน หากมีคนต่างชาติเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นมีสถานะเป็นต่างด้าว แม้ว่าคนไทยจะลงทุนข้างมากในห้างหุ้นส่วนก็ตาม

คำถาม

ประเภทธุรกิจที่ควบคุมภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มีกี่ประเภท และหากจะประกอบธุรกิจจะต้องได้รับอนุมัติจากใคร

คำตอบ

พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดประเภทธุรกิจที่ควบคุมไว้ 3 บัญชี ได้แก่
บัญชีหนึ่ง
เป็นธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ ซึ่งธุรกิจตามบัญชีนี้ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยเด็ดขาด
บัญชีสอง
เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งธุรกิจตามบัญชีสองคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
บัญชีสาม
เป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว ซึ่งธุรกิจตามบัญชีสามคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

คำถาม

บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ สามารถเริ่มต้นประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันไหน

คำตอบ

บริษัทสามารถประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างด้าวเรียบร้อยแล้ว

คำถาม

บริษัทต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ หรือไม่ อย่างไร

คำตอบ

บริษัทต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ให้ประกอบธุรกิจบัญชีสองหรือบัญชีสามท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ จะต้องแจ้งต่ออธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว สำหรับประเภทธุรกิจตามที่ระบุในบัตรส่งเสริมการลงทุน

คำถาม

บริษัทต่างด้าวต้องมีทุนขั้นต่ำจำนวนเท่าไร

คำตอบ

กฎหมายกำหนดให้บริษัทต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจต้องมีทุนขั้นต่ำ ดังนี้
1) หากเป็นธุรกิจที่ไม่อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว บริษัทต้องมีทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าสองล้านบาท
2) หากเป็นธุรกิจที่อยู่ในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว บริษัทต้องมีทุนขั้นต่ำสำหรับแต่ละธุรกิจไม่น้อยกว่าสามล้านบาท

คำถาม

บริษัทต่างด้าวว่าจ้างผู้ประกอบการรายอื่นให้ผลิตสินค้าให้เพื่อจำหน่าย จะถือว่าบริษัทเป็นผู้ผลิตหรือไม่

คำตอบ

การว่าจ้างให้ผู้อื่นผลิตสินค้าไม่ถือว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผลิตสินค้านั้น ดังนั้นการที่บริษัทจำหน่ายสินค้าที่ว่าจ้างให้ผู้ประกอบการอื่นผลิตจึงถือว่าเป็นการค้าปลีก ตามบัญชีสาม (14) หรือ การค้าส่ง ตามบัญชีสาม (15) ซึ่งคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้ ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

คำถาม

หากบริษัทต่างด้าวที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจการค้าปลีกและการค้าส่งโดยไม่ต้องขออนุญาต บริษัทจะต้องมีทุนขั้นต่ำจำนวนเท่าไร

คำตอบ

บริษัทจะต้องมีทุนตามความเป็นจริงที่ใช้ในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจสำหรับแต่ละธุรกิจไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท โดยทุน 100 ล้านบาทจะต้องมีจำนวนร้านค้า ดังนี้
1) กรณีการค้าปลีก สามารถมีจำนวนร้านค้าได้ไม่เกิน 5 ร้านค้า หากจะมีร้านค้าที่ 6 หรือร้านค้าต่อไป ก็จะต้องมีทุนขั้นต่ำเพิ่มอย่างน้อย 20 ล้านบาทต่อร้านค้า
2) กรณีการค้าส่ง สามารถมีร้านค้าได้ 1 ร้านค้า หากจะมีร้านค้าที่ 2 หรือร้านค้าต่อไป ก็จะต้องมีทุนขั้นต่ำเพิ่มอย่างน้อย 100 ล้านบาทต่อร้านค้า

คำถาม

การตั้งสาขาเพิ่มเติมสำหรับใช้เป็นที่เก็บสินค้าเพื่อความสะดวกในการกระจายสินค้า จะถือว่าสาขาดังกล่าวเป็นร้านค้าหรือไม่

คำตอบ

หากการตั้งสาขาสำหรับใช้เป็นสถานที่เก็บสินค้าหรือกระจายสินค้า โดยไม่ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับติดต่อการค้ากับลูกค้า การซื้อขายสินค้า การรับและส่งคืนสินค้าและการรับคำสั่งซื้อ ณ สถานที่ดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นร้านค้าแต่อย่างใด

คำถาม

บริษัทต่างด้าวได้รับสัมปทานในการสำรวจ ผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียม ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่

คำตอบ

การสำรวจ ผลิตและจำหน่ายปิโตรเลียมซึ่งผลิตได้เอง ไม่เข้าข่ายการประกอบธุรกิจตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จึงไม่ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัตินี้

คำถาม

บริษัทต่างด้าวประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าเพื่อขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่

คำตอบ

การประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่เข้าข่ายการประกอบธุรกิจตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จึงไม่ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัตินี้

คำถาม

การประกอบธุรกิจขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่

คำตอบ

ธุรกิจการบินระหว่างประเทศ ไม่เป็นธุรกิจตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ จึงไม่ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจ

บริการงานด้านจดทะเบียน

  • รับจดทะเบียน
  • จดแก้ไขเปลี่ยนแปลง
  • จดทะเบียนเกี่ยวกับสินค้า

บริการงานด้านบัญชีและภาษี

  • งานวางระบบ
  • งานจัดทำบัญชี
  • งานตรวจสอบ

บริการงานด้านขอใบอนุญาต

  • งานขอใบอนุญาต 
  • บริการเป็นที่ปรึกษา

บริการงานด้าน จัดอบรมสัมนา

  • จัดอบรม ผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ เรื่องบัญชีภาษี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  • จัดอบรมคอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจและคอมพิวเตอร์ผู้สูงวัย

สินค้าและบริการด้านอื่นๆ

  • จำหน่ายโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปต่างๆพร้อมติดตั้งเช่น Express Accounting
  • บริการ รับทำเว็บไซต์ ทำการตลาดออนไลน์

 

พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่

ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก
ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม

*** พิเศษ บริการทำการตลาดด้วย SMS/MMS (โปรดติดต่อพนักงาน)

 

พิเศษ !!!  ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี

  • ออกแบบเว็บไซต์ลดพิเศษเหลือ 3,500 บาท
  • ฟรี ออกแบบโลโก้บริษัท พร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
  • ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
  • ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
  • ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์
  • ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
  • ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ

30