ค่ารับรอง ที่นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
ค่ารับรอง เป็นค่าใช้จ่ายที่มีอยู่เกือบทุกประเภทธุรกิจ หากผู้ประกอบการต้องการให้ค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ก็ควรวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่นๆ โดย
1. ประมาณการรายได้ของบริษัทใน 1 ปี
2. ประมาณการค่ารับรองให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายคือ ไม่เกิน 0.3% ของรายได้
(กรณีรายได้สูงกว่าทุนจดทะเบียน)
สำหรับบทความนี้จะอธิบายให้ผู้ประกอบการได้รู้จักกับค่าใช้จ่ายต้องห้ามอีก 1 ประเภทค่ะ นั่นก็คือ ค่ารับรอง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่มีอยู่เกือบทุกประเภทธุรกิจ
หากถามว่าค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าอะไร เชื่อว่าหลายคนคงตอบได้ว่า ค่าอาหารและเครื่องดื่มที่ได้เลี้ยงลูกค้าไปนั่นเองค่ะ
ทำไมค่ารับรองถึงเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม
เพราะค่ารับรองอาจมีความคาบเกี่ยวกับการเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ แต่สรรพากรก็เข้าใจธรรมชาติของการทำธุรกิจดี จึงเปิดช่องให้ค่ารับรองนี้เป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่มีหลักเกณฑ์และจำนวนที่จำกัด ดังนั้นส่วนที่เกินจากหลักเกณฑ์จะถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม
หลักเกณฑ์ค่ารับรองที่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามกฎหมาย
1. ค่ารับรองนั้นต้องเป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป เช่น พาลูกค้ามาเยี่ยมชมกิจการ แล้วมีการเลี้ยงรับรอง หรือการจ่ายค่าโรงแรมให้ลูกค้าที่บินมาเยี่ยมชมกิจการจากต่างประเทศ เป็นต้น
2. บุคคลที่ได้รับการรับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท ยกเว้นว่าลูกจ้างดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมในการรับรอง
3. ค่ารับรองนั้นต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ โดยค่ารับรองสามารถแบ่งออกได้ 2 แบบ
3.1 ค่ารับรองที่เป็นค่าบริการ เช่น
ค่าที่พัก เช่น กิจการพาลูกค้าไปดูโรงงานผลิตสินค้าที่เชียงราย เพื่อเยี่ยมชมสินค้า
ค่าพาหนะ เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่ารถให้แก่ลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อกิจการ
ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เช่น กิจการพาลูกค้าไปรับประทานอาหารหลังจากเซ็นสัญญาซื้อ-ขายสินค้า
ค่ารับรองที่เป็นค่าบริการกฎหมายไม่ได้กำหนดเพดานมูลค่าบริการเอาไว้
3.2 ค่ารับรองที่ให้เป็นสิ่งของ
การให้สิ่งของแก่บุคคลภายนอก เช่น ให้กระเช้าผลไม้ นาฬิกา ซึ่งหากให้เป็นสิ่งของ จะมีข้อจำกัดเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งข้อ นั่นคือ มูลค่าของสิ่งของที่ให้นั้นต้องไม่สูงเกินสมควร โดยจำกัดไว้ที่ไม่เกิน 2,000 บาทต่อคนต่อคราวที่ให้การรับรอง ถ้ามูลค่าสิ่งของเกิน 2,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่วนที่เกินจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทันที
4. ค่ารับรองนั้นต้องมีกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติและต้องมีหลักฐานของผู้รับเงิน
เอกสารประกอบการจ่ายค่ารับรอง
เพื่อให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีและภาษี กิจการต้องจัดทำเอกสารประกอบการจ่ายค่ารับรอง ดังนี้
ต้องจัดทำใบขออนุมัติเบิกค่ารับรอง โดยต้องมีกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากกิจการให้เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ
ต้องระบุว่าบุคคลภายนอกที่กิจการเลี้ยงรับรองเป็นใคร เกี่ยวข้องกับกิจการอย่างไร ควรระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลที่เลี้ยงรับรองด้วย
ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินค่ารับรอง เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงิน ใบขออนุมัติเบิกค่ารับรอง
การนำค่ารับรองมาหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี
มูลค่าค่ารับรองที่บริษัทจ่ายไปสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้นั้น มีเงื่อนไขดังนี้
ค่ารับรองที่หักค่าใช้จ่ายได้
ตัวอย่าง
ทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นงวด จำนวน 1,000,000 บาท
รายได้จากการขาย จำนวน 3,000,000 บาท
เปรียบเทียบทุนที่ชำระแล้ว ณ วันสิ้นงวด กับรายได้จากการขาย
จำนวนที่สูงกว่าคือ รายได้จากการขาย
ค่ารับรองตามเงื่อนไข 3,000,000 x 0.3 % = 9,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
เพิ่มเติม ภาษีซื้อค่ารับรองถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ไม่สามารถนำมาหักกับภาษีขาย หรือ ขอคืนได้ แต่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายได้ ดังนั้นมูลค่าค่ารับรองที่กฎหมายอนุญาตให้ถือเป็นรายจ่าย จะต้องเป็นมูลค่าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
———————————————————————
❤️❤️#ยินดีให้คำปรึกษา❤️❤️
“จบทุกปัญหาเพียงแค่ปรึกษาเรา”
✅สะดวก ✅รวดเร็ว ✅ถูกต้อง ✅ครบถ้วน ✅ประหยัด ✅มั่นใจในองค์กรของเรา….
#รับจดทะเบียนบริษัท #ควิกแอคเคาท์ติ้ง
#ชลธีบิสซิเนสกรุ๊ป #ให้มากกว่าที่คิด
#Onestopservice #Teamwork
#จดทะเบียนธุรกิจและนิติบุคคล #วางระบบและจัดทำบัญชี #งานบริการขอใบอนุญาต
#บริการจัดทำภาษีทุกประเภท#บริการทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
❤️สามารถติดต่อขอรายละเอียดและสอบถามข้อมูลต่างๆ
ได้อย่างรวดเร็ว
👉🏻โดย เพิ่มไลน์แอด Line@ : @chonlatee
หรือกดเพิ่มเพื่อนที่ลิ้งค์ได้เลยค่ะ https://lin.ee/qMIpQ8m
📞โทร : 0836225555
รับจดทะเบียนบริษัท By ชลธี
🌐https://www.chonlatee.com
รับจดทะเบียนบริษัท,รับทำบัญชี,รับจดทะเบียนบริษัท ราคาถูก,รับจดทะเบียนบริษัท ทั่วไทย,รับจดทะเบียน ออนไลน์,รับจดทะเบียนบริษัท ต่างชาติ,รับจดทะเบียนบริษัท ด่วน,รับจดทะเบียนบริษัท ร้านค้า,รับจดทะเบียนบริษัท คนเดียว , รับจดทะเบียนบริษัท ที่ไหน , รับจดทะเบียนบริษัท ช่วงโควิด-19 , รับจดทะเบียนบริษัท ท่องเที่ยว , รับจดทะเบียนบริษัท ก่อสร้าง , จดทะเบียนบริษัท ที่ไหนดี , จดทะเบียนบริษัท ทำอย่างไร