รับจดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนท่องเที่ยวร้อยเอ็ด โทร : 094-493-1414

ร้อยเอ็ด เดิมสะกดว่า ร้อยเอ็จ เป็นจังหวัดบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานตอนบนของไทย

  • ตราประจำจังหวัด : ประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่สำคัญคือรูปบึงพลาญชัย ศาลหลักเมือง พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตัวเลข ๑๐๑ และรวงข้าวหอมมะลิ ตราที่ใช้ในปัจจุบันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 ออกแบบโดย นายรังสรรค์ ต้นทัพไทย
  • คำขวัญประจำจังหวัด : สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นกระบก (Irvingia malayana)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกอินทนิลบก (Lagerstroemia macrocarpa)
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาหลดจุด (Macrognathus siamensis)
  • เครื่องดนตรีประจำจังหวัด : โหวด

950x410_free-consultation

จดทะเบียนบริษัททัวร์ จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยว

หลักการจดทะเบียนบริษัททัวร์ ท่องเที่ยว หลังจากจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อย โดยห้ามใส่คำว่า ทัวร์ /Travel ก่อนขอใบอนุญาติ ททท. 

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกระเบียบให้ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดที่จะประกอบธุรกิจ "นำเที่ยว" ต้องได้รับอนุญาตจากกรมการท่องเที่ยวก่อน แล้วจึงนำหลักฐานมายื่นขอจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หากไม่มีใบอนุญาตหมดสิทธิ์ประกอบธุรกิจบังคับใช้แล้ว 1 ก.ค. 58
นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวหลายพื้นที่ของไทยมักประสบปัญหาชาวต่างชาติเข้ามาประกอบกิจการท่องเที่ยวแต่แอบอ้าง หรือใช้ชื่อคนไทยจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ โดยมีการร้องเรียนผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เร่งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวไทยเป็นอย่างมาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับกรมการท่องเที่ยว และ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2557 เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจ การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ และการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้แต่ละหน่วยงานใช้เป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบ กำกับดูแล ตลอดจนสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวของไทยให้มีความน่าเชื่อถือเข้มแข็งและยั่งยืน

"เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ทั้ง 3 หน่วยงานได้ร่วมกันกำหนดขึ้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้งธุรกิจนำเที่ยวให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อป้องปรามปัญหานอมินีและสกัดกั้นผู้ที่ไม่หวังดีในการประกอบธุรกิจนำเที่ยวของไทย โดยออกระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2558 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์จะจดทะเบียนจัดตั้ง "ธุรกิจนำเที่ยวต้องได้รับอนุญาตจากกรมการท่องเที่ยว” ก่อน โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไปๆ ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 2) นำหนังสือรับรองนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้ไปยื่นขอความเห็นชอบประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากกรมการท่องเที่ยว 3) นำหลักฐานใบอนุญาตจากกรมการท่องเที่ยวมายื่นจดทะเบียนเพิ่มวัตถุประสงค์ "นำเที่ยว” ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 4) ดำเนินธุรกิจนำเที่ยวได้ถูกต้องตามกฎหมาย”

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะร่วมกับกรมการท่องเที่ยว และ DSI ลงพื้นที่ตรวจสอบแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศเป็นระยะ ๆ หากพบธุรกิจรายใดเข้าข่ายกระทำความผิดตามกฎหมายจะลงโทษอย่างเด็ดขาด เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง และขอแนะนำผู้ที่จะใช้บริการ หรือจำเป็นต้องติดต่อทำธุรกรรมกับธุรกิจนำเที่ยวทุกราย ควรตรวจสอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้โดยตรวจสอบได้ 3 ช่องทาง 1) สายด่วน 1570 2) www.dbd.go.th (คลังข้อมูลธุรกิจ) และ3) ดาวน์โหลด Application ‘DBD e- Service’ และต้องตรวจสอบว่ามีใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากกรมการท่องเที่ยวหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาทัวร์ต้มตุ๋น หลอกลวง

ขออนุญาติธุรกิจท่องเที่ยว ขออนุญาตธุรกิจทัวร์ จดทะเบียนบริษัททัวร์ จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยว
รับจดทะเบียนบริษัทร้อยเอ็ด จดทะเบียนบริษัทร้อยเอ็ด รับจดทะเบียนบริษัทจังหวัดร้อยเอ็ด จดทะเบียนบริษัทจังหวัดร้อยเอ็ด จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนร้อยเอ็ด รับทำบัญชีร้อยเอ็ด ทำบัญชีร้อยเอ็ด รับวางระบบบัญชีร้อยเอ็ด วางระบบบัญชีร้อยเอ็ด รับตรวจสอบบัญชีร้อยเอ็ด ตรวจสอบบัญชีร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เกษตรวิสัย ปทุมรัตต์จตุรพักตรพิมาน ธวัชบุรี พนมไพร โพนทอง โพธิ์ชัย หนองพอก เสลภูม ิสุวรรณภูม ิเมืองสรวง โพนทราย อาจสามารถ เมยวดี ศรีสมเด็จ จังหารเชียงขวัญ หนองฮี ทุ่งเขาหลวง

โปรโมชั่น จดทะเบียนบริษัทกับเราวันนี้


โปรโมชั่น สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่

พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่

ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม


โปรโมชั่น ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี

พิเศษ !!! ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี

เว็บไซต์ ราคาพิเศษ 3,500 สำหรับบริษัทพร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท
ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่าระบบออนไลน์
ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ

การจดทะเบียนธุรกิจ ประเภทต่างๆ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับกิจการที่เราจะทำ จำเป็นจะต้องพิจารณาให้ละเอียด เพื่อการเริ่มต้นที่ดี

คำถามที่พบบ่อย ?

ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ร้านค้าจดทะเบียนบริษัทที่ไหน? จดบริษัทจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? จดบริษัทต้องใช้ผู้ก่อตั้งกี่คน? จดบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่? ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร บริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? บริษัทจดคนเดียวได้ไหม? บริษัทสามารถใส่วัตถุประสงค์ได้กี่ข้อ? จะรับงานราชการต้องจดทะเบียนแบบไหน? บริษัทจะต้องขึ้นประกันสังคมหรือไม่? ต้องมีลูกจ้างกี่คนถึงจะขึ้นประกันสังคม? จะเริ่มทำบัญชียังไง? ลูกค้าให้จดเป็นนิติบุคคล จะจดแบบไหนดี? มีชาวต่างชาติถือหุ้นด้วยจะจดบริษัทได้ไหม? การตั้งชื่อบริษัทควรจะตั้งอย่างไร? ถ้าเปิดบริษัทแต่ยังไม่มีรายได้ต้องเสียค่าทำบัญชีไหม ต้องปิดงบการเงินหรือไม่? ถ้ามีชื่อในบริษัทอื่นแล้ว จะตั้งบริษัทใหม่ได้ไหม? ทำบิล ทำใบกำกับภาษี ไม่เป็น จะทำยังไง? กรรมการบริษัท คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร? ผู้ถือหุ้น คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร ? จะเปิดบัญชีกับธนาคาร ในนามบริษัทต้องทำอย่างไร? ที่ตั้งบริษัท ใช้บ้านที่ต่างจังหวัดได้หรือไม่?……..

โทรหาเรา เพื่อขอรับคำปรึกษา โทร : 083-622-5555

รับจดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท

จดทะเบียนบริษัท รับจดทะเบียนบริษัท

ให้บริการด้านการจัดตั้งธุรกิจ รับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท ทั่วไทย รับเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบภายใน เขียนแผนธุรกิจ การตลาด สื่อโฆษณา การเงิน แรงงาน กฎหมาย ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์พร้อมด้วยบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ราคาเป็นธรรมและซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา


ประวัติศาสตร์

เคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปรากฏชื่อในตำนานอุรังคธาตุว่า สาเกตนคร หรือ เมืองร้อยเอ็ดประตู อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรื่องโดยที่มีเมืองขึ้นจำนวนมาก การตั้งชื่อเมืองว่า "ร้อยเอ็จประตู" นั้น น่าจะเป็นการตั้งชื่อเชิงอุปมาอุปไมยให้เป็นศิริมงคลและแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของเมืองมากกว่าการที่เมืองจะมีประตูเมืองอยู่จริงถึงร้อยเอ็ดประตู ซึ่งการตั้งชื่อเพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองผ่านการมีประตูเมืองจำนวนมากนั้น น่าจะได้รับอิทธิพลหรือแบบอย่างมาจากเมืองหรืออาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองในสมัยโบราณอย่างทวารวดีซึ่งมีความหมายว่าเมืองที่มีประตูล้อมรอบเป็นกำแพง หรืออย่างเมืองหงสาวดีที่มีประตูเมืองรายล้อมกำแพงเมืองอยู่ยี่สิบประตู ซึ่งแต่ละประตูนั้นจะตั้งชื่อตามเมืองขึ้นของตน เช่น เชียงใหม่ อโยธยา จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น นอกจากนั้นการตั้งชื่อเมืองให้ดูยิ่งใหญ่เกินจริงเพื่อความเป็นสิริมงคลก็ถือเป็นธรรมดาของการตั้งชื่อเมืองหรืออาณาจักรในสมัยโบราณ

ส่วนข้อสันนิษฐานที่ว่าเมืองร้อยเอ็ดน่าจะมีเพียงสิบเอ็ดหัวเมือง อันเนื่องมาจากการเขียนจำนวนตามแบบภาษาลาวโบราณ โดยเลขสิบเอ็ดจะประกอบไปด้วยเลขสิบกับเลขหนึ่ง (10+1 =101) ทำให้เกิดการอ่านที่ผิดเพี้ยนเป็นคำว่าร้อยเอ็ดนั้น น่าจะเป็นสมมุติฐานที่คลาดเคลื่อน เพราะจากการตรวจสอบข้อความตัวอักษรธรรมในต้นฉบับใบลานเรื่องอุรังคธาตุไม่ปรากฏว่ามีจุดไหนที่เขียนชื่อเมืองร้อยเอ็ดเป็นตัวเลข แต่กลับมีการเขียนถึงเมืองร้อยเอ็ดเป็นตัวอักษรทุกจุด (มีทั้งหมด 59 จุด) และไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายแจกแจงรายชื่อหัวเมืองทั้ง 11 แห่ง (อ่านเพิ่มเติมที่ ร้อยเอ็ด คือ ร้อยเอ็ด มิใช่สิบเอ็ด หรือ 10 + 1 โดย สุวัฒน์ ลีขจร) [1]

ประกอบกับตามธรรมดาของการตั้งชื่อต่างๆไม่ว่าจะคนหรือเมืองนั้น จะต้องมีการออกเสียงก่อนถึงจะมีการเขียนเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข ซึ่งหากชื่อเมืองแต่เดิมชื่อว่าเมืองสิบเอ็ดประตูแล้ว จึงมีการจารึกชื่อเป็นตัวเลขอย่าง 101 นั้น คำว่าสิบเอ็ดก็ไม่น่าจะออกเสียงเพี้ยนจนมาเป็นคำว่าร้อยเอ็ดอย่างในปัจจุบันได้ ดังนั้นชื่อเมืองร้อยเอ็ดหรือเมืองร้อยเอ็ดประตูจึงน่าจะเป็นชื่อเมืองที่มีมาอยู่แต่แรกเริ่มดังปรากฏในหลักฐานสำคัญ คือ ตำนานอุรังคธาตุฉบับกรมศิลป์ฯ

สรุปความหมาย ก็คือ มีคำ 2 คำที่ต้องทำความเข้าใจ คำแรก คือคำว่า ร้อยเอ็ด แปลว่าจำนวนที่มากมายจนนับไม่ถ้วน และ อีกคำหนึ่ง ก็คือ คำว่า เมืองร้อยเอ็ดประตู ซึ่งมีนักวิชาการ ได้ตีความว่าน่าจะหมายถึง ทวารวดี เพราะ ทวาร แปลว่า ช่อง, รู, ประตู วติ หรือ วดี แปลว่า เขต หรือ รั้ว ทวารดี จึงแปลว่า เมืองที่มีประตูเป็นรั้ว ซึ่งเปรียบเทียบแล้วน่าจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่าเมืองร้อยเอ็ดประตูที่สุด

สมัยก่อนประวัติศาสตร์
พบหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด มีการขุดพบแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัวซึ่งสันนิษฐานว่า ชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบมีอายุประมาณ 1,800-2,500 ปีมาแล้ว และมักมีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ำกับใกล้แหล่งเกลือสินเธาว์[ต้องการอ้างอิง] อิทธิพลของพุทธศาสนาภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีได้เข้ามาเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 12-15 มีหลักฐานสมัยทวารวดีที่สำคัญ เช่น คูเมืองร้อยเอ็ด เจดีย์เมืองหงส์ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน กลุ่มใบเสมาบริเวณหนองศิลาเลขในเขตอำเภอพนมไพร และพระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรกที่เมืองไพรในเขตอำเภอเสลภูมิ[ต้องการอ้างอิง]

วัฒนธรรมจากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามาในพุทธศตวรรษที่ 16 ปรากฏหลักฐานอยู่มาก เช่น สถาปัตยกรรมในรูปแบบของปราสาทหิน เช่น กู่กาสิงห์ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนาที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ทำจากหินทรายและโลหะเป็นจำนวนมาก

สมัยทวารวดี
การตั้งถิ่นฐานของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องถึงสมัยทวารวดี เมืองที่สร้างขึ้นมีรูปร่างและที่ตั้งไม่แน่นอน แต่มีลักษณะที่สำคัญคือ มีคูน้ำและคันดิน ล้อมรอบชุมชน ร่องรอยที่ยังเห็นอยู่ของคูเมืองและคันดินได้แก่บริเวณด้านตะวันออกของวัดบูรพาภิราม ด้านใต้ของเมืองบริเวณโรงเรียนสตรีศึกษา นอกจากนี้ยังพบอยู่ในอำเภอต่าง ๆ ของร้อยเอ็ด ได้แก่ บ้านเมืองไพร (เขตอำเภอเสลภูมิ) บ้านเมืองหงส์ (เขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน) บ้านสีแก้ว (เขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด) หนองศิลาเลข บ้านชะโด (เขตอำเภอพนมไพร) และบ้านดงสิงห์ (เขตอำเภอจังหาร)[ต้องการอ้างอิง]

สมัยลพบุรี
พบโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยลพบุรีหรือละโว้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ ปราสาทหินกู่กาสิงห์ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่โพนระฆัง กู่โพนวิท กู่บ้านเมืองบัวในเขตอำเภอเกษตรวิสัย กู่คันทนามในเขตอำเภอโพนทราย สำหรับโบราณวัตถุ ได้แก่ รูปเคารพและเครื่องมือเครื่องใช้ในศาสนา เช่นพระพุทธรูป เทวรูป ศิวลึงค์ ภาชนะดินเผา คันฉ่องสำริด กำไลสำริด เป็นต้น

สมัยอาณาจักรล้านช้าง
ได้ปรากฏชื่อเมืองร้อยเอ็ดในเอกสารของลาวว่า พระเจ้าฟ้างุ้มเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นบุตรเขยเมืองขอม ได้นำไพร่พลมารวมกำลังกันอยู่ที่เมืองร้อยเอ็ด ก่อนยกกำลังไปยึดเมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) ได้สำเร็จแล้วจึงได้สถาปนาอาณาจักรล้านช้าง

หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาดหายไปประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ดพร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คนได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้ขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่งและส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองคำทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2256 เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้มอบหมายให้อาจารย์แก้วควบคุมไพร่พลประมาณ 3,000 คน มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ในดินแดนอีสานตอนล่าง เรียกว่า เมืองท่ง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ มีเจ้าเมืองต่อมาคือ ท้าวมืด ท้าวทน ท้าวเชียง และท้าวสูน

สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

พระยาขัติยะวงษา (ทน)
ปี พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยากรมท่าและพระยาพรหมเดินทางมาดูแลหัวเมืองในภาคอีสาน ท้าวทนจึงได้เข้ามาขออ่อนน้อม พระยาทั้งสองจึงมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรีขอตั้งท้าวทนเป็นเจ้าเมือง โดยยกบ้านกุ่มฮ้างขึ้นเป็น เมืองร้อยเอ็ด ตามนามเดิม ท้าวทนได้รับแต่งตั้งเป็นพระขัติยะวงษา นับว่าเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก ส่วนเมืองท่งนั้นบรรดากรมการเมืองเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายไปตั้งบริเวณดงท้าวสาร และให้ชื่อว่า เมืองสุวรรณภูมิ นับแต่นั้นมาทั้งเมืองร้อยเอ็ดและเมืองสุวรรณภูมิต่างมีฐานะขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรีเช่นเดียวกัน

พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ ทำให้เมืองร้อยเอ็ดและบรรดาหัวเมืองอีสานล้วนต้องขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนเมืองร้อยเอ็ดก็ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนมีฐานะทางการเมืองและความสำคัญเหนือเมืองสุวรรณภูมิในเวลาต่อมา

พ.ศ. 2326 พระขัติยะวงษา (ทน) ถึงแก่กรรม ท้าวสีลังบุตรคนโตได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระขัติยะวงษา เจ้าเมืองร้อยเอ็ดสืบแทน ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพกบฏถูกตีแตกถอยร่นกลับมา กำลังทหารจากเมืองร้อยเอ็ดได้เข้าโจมตีซ้ำเติมจนพวกกบฏแตกพ่าย พระขัติยะวงษา (สีลัง) มีความดีความชอบได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาขัติยะวงษา

ในปี พ.ศ. 2418 เกิดสงครามปราบฮ่อที่เวียงจันทน์และหนองคาย เจ้าเมืองอุบลได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้ายกกำลังไปปราบ โดยเกณฑ์กำลังพลจากหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือไปช่วยปราบกบฏ เมื่อกองทัพยกมาถึงเมืองร้อยเอ็ด พระขัติยะวงษา (สาร) และราชวงศ์ (เสือ) ได้สมทบกำลังไปปราบฮ่อด้วย เมื่อเสร็จศึก ราชวงศ์ (เสือ) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระขัติยะวงษา

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองในระบบมณฑลเทศาภิบาล จึงให้รวมหัวเมืองอีสานเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งออกเป็น 4 กองใหญ่ แต่ละกองมีข้าหลวงกำกับการปกครองกองละ 1 คน และมีข้าหลวงใหญ่กำกับราชการอีกชั้นหนึ่งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ กองใหญ่ทั้ง 4 กอง ได้แก่ หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ และหัวเมืองลาวฝ่ายกลาง เมืองร้อยเอ็ดเป็นหัวเมืองเอกในจำนวน 12 เมืองของหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีศูนย์การบริหารหัวเมืองอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราระบบการปกครองเทศาภิบาลขึ้นใช้ปกครองส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ หัวเมืองลาวกาวจึงเปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลลาวกาว ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ และมณฑลอีสานตามลำดับ

ในปี พ.ศ. 2450 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบริเวณร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือเมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์

ในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ มณฑลร้อยเอ็ดจึงมีเขตปกครอง 3 จังหวัดคือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์

พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล และมณฑลอุดร เป็นภาคเรียกว่า ภาคอีสาน มีอุปราชประจำภาคอยู่ที่เมืองอุดรธานี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2468 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกภาคอีสาน แล้วปรับเปลี่ยนเป็นการปกครองระบบมณฑลตามเดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2469 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล และมณฑลอุดร แล้วให้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัด ขึ้นต่อมณฑลนครราชสีมา

ระหว่างปี พ.ศ. 2445-2455 ได้เกิดกบฏผีบุญขึ้นในจังหวัดร้อยเอ็ดอันมีสาเหตุมาจากการยกเลิกการปกครองแบบดั้งเดิม โดยยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง แล้วแต่งตั้งข้าราชการจากส่วนกลางไปปกครอง ทำให้เกิดการต่อต้านจากกลุ่มเจ้าเมืองเดิมและทายาท กบฏผีบุญเกิดขึ้นจากการมีผู้อ้างตัวเป็นผู้วิเศษตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในภาคอีสาน ในที่สุดก็ถูกทางราชการปราบได้ราบคาบ

ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอมาขุดลอกบึงเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน นับว่าเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของไทยที่ควรจารึกไว้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกหลานไทยต่อไปชั่วกาลนาน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้

 
แบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 193 ตำบล 2412 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
อำเภอเกษตรวิสัย
อำเภอปทุมรัตต์
อำเภอจตุรพักตรพิมาน
อำเภอธวัชบุรี
อำเภอพนมไพร
อำเภอโพนทอง
อำเภอโพธิ์ชัย
อำเภอหนองพอก
อำเภอเสลภูมิ
อำเภอสุวรรณภูมิ
อำเภอเมืองสรวง
อำเภอโพนทราย
อำเภออาจสามารถ
อำเภอเมยวดี
อำเภอศรีสมเด็จ
อำเภอจังหาร
อำเภอเชียงขวัญ
อำเภอหนองฮี
อำเภอทุ่งเขาหลวง

จดทะเบียนท่องเที่ยวภาคกลาง

จดทะเบียนท่องเที่ยวนครสวรรค์ : จดทะเบียนท่องเที่ยวอุทัยธานี : จดทะเบียนท่องเที่ยวอ่างทอง : จดทะเบียนท่องเที่ยวสระบุรี : จดทะเบียนท่องเที่ยวสุพรรณบุรี : จดทะเบียนท่องเที่ยวสุโขทัย : จดทะเบียนท่องเที่ยวสิงห์บุรี : จดทะเบียนท่องเที่ยวสมุทรสาคร : จดทะเบียนท่องเที่ยวสมุทรสงคราม : จดทะเบียนท่องเที่ยวสมุทรปราการ : จดทะเบียนท่องเที่ยวลพบุรี : จดทะเบียนท่องเที่ยวเพชรบูรณ์ : จดทะเบียนท่องเที่ยวพิษณุโลก : จดทะเบียนท่องเที่ยวพิจิตร : จดทะเบียนท่องเที่ยวพระนครศรีอยุธยา : จดทะเบียนท่องเที่ยวปทุมธานี : จดทะเบียนท่องเที่ยวนนทบุรี : จดทะเบียนท่องเที่ยวนครปฐม : จดทะเบียนท่องเที่ยวนครนายก : จดทะเบียนท่องเที่ยวชัยนาท : จดทะเบียนท่องเที่ยวกำแพงเพชร

จดทะเบียนท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จดทะเบียนท่องเที่ยวอำนาจเจริญ : จดทะเบียนท่องเที่ยวอุบลราชธานี : จดทะเบียนท่องเที่ยวหนองบัวลำภู : จดทะเบียนท่องเที่ยวหนองคาย : จดทะเบียนท่องเที่ยวศรีสะเกษ : จดทะเบียนท่องเที่ยวสุรินทร์ : จดทะเบียนท่องเที่ยวสกลนคร : จดทะเบียนท่องเที่ยวเลย : จดทะเบียนท่องเที่ยวร้อยเอ็ด : จดทะเบียนท่องเที่ยวยโสธร : จดทะเบียนท่องเที่ยวมุกดาหาร : จดทะเบียนท่องเที่ยวมหาสารคาม : จดทะเบียนท่องเที่ยวบุรีรัมย์ : จดทะเบียนท่องเที่ยวบึงกาฬ : จดทะเบียนท่องเที่ยวนครราชสีมา : จดทะเบียนท่องเที่ยวนครพนม : จดทะเบียนท่องเที่ยวชัยภูมิ : จดทะเบียนท่องเที่ยวขอนแก่น : จดทะเบียนท่องเที่ยวกาฬสินธุ์ : จดทะเบียนท่องเที่ยวอุดรธานี

จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยว 50 เขต ในกรุงเทพฯ

จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางบอน : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวทุ่งครุ : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวทวีวัฒนา : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางนา : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวคลองสามวา : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยววังทองหลาง : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวสะพานสูง : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวคันนายาว : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวสายไหม : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวหลักสี่ : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางแค : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยววัฒนา : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวลาดพร้าว : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวราชเทวี : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวดอนเมือง : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวจอมทอง : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวสวนหลวง : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวคลองเตย : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวประเวศ : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางคอแหลม : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวจตุจักร : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางซื่อ : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวสาทร : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบึงกุ่ม : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวดินแดง : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางพลัด : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวราษฎร์บูรณะ : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวหนองแขม : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวภาษีเจริญ : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางขุนเทียน : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางกอกน้อย : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวตลิ่งชัน : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวคลองสาน : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวห้วยขวาง : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางกอกใหญ่ : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวธนบุรี : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวพญาไท : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวสัมพันธวงศ์ : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวยานนาวา : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวลาดกระบัง : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวมีนบุรี : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวพระโขนง : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวป้อมปราบศัตรูพ่าย : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวปทุมวัน : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางกะปิ : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางเขน : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวบางรัก : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวหนองจอก : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวดุสิต : จดทะเบียนบริษัทท่องเที่ยวพระนคร

จดทะเบียนท่องเที่ยวร้อยเอ็ด
Tagged on: