วังบางขุนพรหม เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุลบริพัตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดา วังบางขุนพรหมอยู่ในเนื้อที่ 33 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศใต้ของวังเทวะเวสม์ วังบางขุนพรหม มีตำหนักรวม 2 ตำหนัก ได้แก่ ตำหนักใหญ่ และตำหนักสมเด็จ โดยตำหนักใหญ่ ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2444 โดยการออกแบบของคาร์ล ซันเดรสกี สถาปนิกชาวเยอรมัน แต่ไม่แล้วเสร็จ จึงได้มารีโอ ตามัญโญ สถาปนิกที่มีชื่อเสียงชาวอิตาลี มาดำเนินการออกแบบจนแล้วเสร็จ ส่วนตำหนักสมเด็จ เป็นตำหนักที่เพิ่มเติมติดกับตำหนักใหญ่ ได้รับการออกแบบโดยคาร์ล เดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2454
ภายหลังสร้างแล้วเสร็จได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี จนถึงปี พ.ศ. 2470 จนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 วังแห่งนี้ได้ตกเป็นของรัฐบาล กลายเป็นสถานที่ราชการต่างๆ ทั้ง กรมยุวชนทหารบก สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และตั้งแต่ พ.ศ. 2488 จนถึงปัจจุบัน วังบางขุนพรหม เป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย[3]
ภายในวังบางขุนพรหมมี ห้องสีชมพู และห้องสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นห้องที่ได้รับการตกแต่งอย่างหรูหรา วิจิตร และมีชื่อเสียงที่สุด เดิมเป็นห้องรับแขกสำคัญ และบำเพ็ญพระกุศลของวังบางขุนพรหม ปัจจุบันจัดแสดง ภาพเขียน ภาพถ่ายเจ้านายในราชสกุลบริพัตร สิ่งของ เครื่องใช้ในวังบางขุนพรหม เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต[4]
ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมตามแบบตะวันตกทั้ง นีโอ-บารอก โรโกโก อาร์นูโว และ อาร์ตเดโค ทำให้วังบางขุนพรหม ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในวังที่สวยที่สุดเมืองไทย[5] และเป็นวังที่สถาปัตยกรรมบารอกและโรโคโค ที่สมบูรณ์ที่สุด
วังบางขุนพรหมนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมจัดซื้อที่ดินพระราชทานแด่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่อ พ.ศ. 2442 ใช้เป็นที่ประทับ และยังเป็นสถานที่จัดงานสโมสรสันนิบาต ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองหลายครั้ง นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดงานสังสรรค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นสถานที่ให้ครูชาวต่างประเทศใช้จัดสอนวิชาต่าง ๆ ให้กับพระธิดาและเจ้านายฝ่ายในของวังอื่น ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีชื่อเรียกกันในสมัยนั่นว่า "บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้"
ซึ่งวังบางขุนพรหม ได้รับการยอมรับว่าเป็นวังที่ประทับของเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ที่ถือว่าใหญ่โตที่สุด โอ่อ่าที่สุด ทำให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้ที่ประทับ ได้รับสมัญญานามจากคนทั่วไปว่า "เจ้าฟ้าวังบางขุนพรหม" หรือ"จอมพลบางขุนพรหม"[6]
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ย้ายออกจากวังบางขุนพรหม เสด็จฯไปประทับอยู่ที่ตำหนักประเสบัน เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย อย่างกะทันหัน และประทับอยู่ที่นั่นจนสิ้นพระชนม์
วังบางขุนพรหม ได้ใช้เป็นที่ตั้งของกรมยุวชนทหาร สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และหน่วยงานราชการอีกหลายแห่ง
พ.ศ. 2488 ธนาคารแห่งประเทศไทย เช่าวังบางขุนพรหมเป็นที่ทำการธนาคารจากกรมธนารักษ์ ใน พ.ศ. 2502 จึงได้จัดซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด โดยแลกกับบ้านมนังคศิลา ในราคา 39.185 ล้านบาท
เมื่อ พ.ศ. 2496 มีการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ก็จัดตั้งสำนักงาน บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด และ ทำการถ่ายทอดจากที่นี่ เมื่อ พ.ศ. 2498 เรียกว่า สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม ย้ายออกไปใน พ.ศ. 2520 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และ โมเดิร์นไนน์ ทีวี ตามลำดับ
จดทะเบียนบริษัท 2 คน
จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ แค่ 2 คน ตั้งบริษัทได้ เริ่มใช้ 7 ก.พ. 66
พาณิชย์แง้มข่าวดี พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 มีผลบังคับใช้วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 สาระสำคัญ ลดจำนวนผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำกัดจาก 3 คน เหลือแค่ 2 คน
วันที่ 6 ธันวาคม 2565 นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจในการจดทะเบียนนิติบุคคล ได้เสนอพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 และพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565
ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัทให้มีความทันสมัย รองรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของเทคโนโลยี ส่งเสริมให้จัดตั้งบริษัทจำกัดได้ง่ายขึ้น เพิ่มความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ อีกทั้งช่วยให้บริษัทจำกัดสามารถควบรวมกิจการได้มากกว่าหนึ่งลักษณะ
ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศและสร้างภาพลักษณ์อันดีในการประกอบธุรกิจ รองรับระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ประการสำคัญที่สุดคือ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนการดำเนินงานให้ผู้ประกอบธุรกิจตามนโยบายของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง
การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในครั้งนี้ มีประเด็นที่เปลี่ยนแปลงหลายประการ ดังนี้ 1) การยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทสามารถยื่น ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด จากเดิมสำนักงานใหญ่อยู่ในจังหวัดใดต้องจดทะเบียน ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนั้นเท่านั้น
2) รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนด ลด หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัท หรือกำหนดค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันตามรูปแบบการทำธุรกรรมก็ได้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศมากขึ้น
3) บุคคลตั้งแต่ 2 ขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ จากเดิมต้อง 3 คนขึ้นไป 4) หนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ หากไม่ดำเนินการจดทะเบียนบริษัทจำกัดภายใน 3 ปีสิ้นผลทันที จากเดิมที่ไม่มีอายุของการสิ้นผล ทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถใช้ชื่อบริษัทที่ปรากฏในหนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้ได้
5) บริษัทใดมีตราประทับต้องประทับตราในใบหุ้นทุกใบ 6) ให้ธุรกิจนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการประชุมกรรมการได้เพิ่มขึ้นอีกวิธีหนึ่ง นอกจากต้องมาประชุม ณ สถานที่นัดประชุมเท่านั้น 7) ยกเลิกการนำหนังสือเชิญประชุมไปลงประกาศในหนังสือพิมพ์ ยกเว้นในกรณีบริษัทจำกัดมีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือที่ยังต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือในสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่
จดทะเบียนธุรกิจ
การจดทะเบียนธุรกิจ ประเภทต่างๆ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับกิจการที่เราจะทำ จำเป็นจะต้องพิจารณาให้ละเอียด เพื่อการเริ่มต้นที่ดี ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง ความน่าเชื่อถือ รายได้ต่อปี ประเภทของลูกค้า ทุนจดทะเบียน จำนวนผู้ร่วมลงทุนกับเรา การระดมทุน ความคล่องตัวในการบริหาร ตลอดจนแผนการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต ที่ประเทศไทยจะเข้าร่วมกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community) หรือเรียกย่อๆว่า AEC ในปี 2558 โดยเราจะเตรียมตัวให้พร้อมการการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก การเลือกจดทะเบียนธุรกิจ สามรถแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆดังนี้
- จดทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้า) มีสภาพเหมือนบุคคลธรรมดา ก่อตั้ง 1 คน
- จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ มีสภาพเหมือนบุคคลธรรมดา ก่อตั้งอย่างน้อย 2 คน
- จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคล ก่อตั้งอย่างน้อย 2 คน
- จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด มีสภาพเป็นนิติบุคคล ก่อตั้งอย่างน้อย 2 คน
- จดทะเบียนบริษัทจำกัด มีสภาพเป็นนิติบุคคล ก่อตั้งอย่างน้อย 3 คน
- จดทะเบียนบริษัทจำกัด(มหาชน) มีสภาพเป็นนิติบุคคล ก่อตั้งอย่างน้อย 15 คน
หลังจากที่เราเลือกประเภทธุรกิจที่จะจดทะเบียนได้แล้ว ก็ต้องศึกษาและเตรียมเอกสาร ซึ่งการจดทะเบียน ก็มีความยากง่าย จำนวนเอกสาร และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจดทะเบียน แตกต่างกันไป ถ้าเรามีเวลาก็สามารถไปดำเนินการด้วยตัวเองได้ แต่ไม่มีเวลาก็สามารถเลือกใช้บริการ จดทะเบียนกับ บริษัท ควิกแอคเคาท์ติ้ง จำกัด ซึ่งจะทำให้งานจดทะเบียนธุรกิจเป็นเรื่องง่าย เสร็จทันตามกำหนดในราคาที่เหมาะสม ซึ่งท่านอาจใช้เวลาไปทำหรือเตรียมงานด้านอื่นๆต่อไป
รับจดทะเบียนบริษัท
จองชื่อ 15 นาที รู้ผลทันที CLICK
สำหรับบริการจดทะเบียนบริษัท เป็นอะไรที่มีความซับซ้อนอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของระยะเวลาและสถานที่ บางท่านอาจจะไม่สะดวกทั้งเวลาและสถานที่ทำให้ธุรกิจของท่านอาจเสียโอกาศทาง ธุรกิจก็เป็นได้ ดังนั้นเราจึงเล็งเห็นความสำคัญในส่วนนี้ ทางบริษัทจึงมีความยินดีที่จะเสนอ บริการ ต่างๆ เข้ามาเพื่อแบ่งเบาภาระ ขั้นตอนการทำงาน ช่วยประหยัดเวลา อันมีค่า อีกทั้งเพื่อความถูกต้อง ตรงเวลา ตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีบริการ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งตลอดจนลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง ดังต่อไปนี้
บริการงานด้านจดทะเบียน
- รับจดทะเบียน : บริษัทจำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ใบทะเบียนพาณิชย์, มูลนิธิ, สมาคม, จดภาษีมูลค่าเพิ่ม, ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ฯลฯ
- จดแก้ไขเปลี่ยนแปลง : จดแจ้งย้ายที่ตั้งบริษัท จดเพิ่มสาขา จดเปลี่ยนตราสำคัญ จดเปลี่ยนชื่อ จดกรรมการ เข้า-ออก จดเพิ่มทุนจดทะเบียน จดแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ ฯลฯ
- จดทะเบียนเกี่ยวกับสินค้า : จดเครื่องหมายการค้า จดสิทธิบัตร จดลิขสิทธิ์
บริการงานด้านบัญชีและภาษี
- งานวางระบบ : ระบบบัญชี ระบบสต๊อกสินค้า บัญชีต้นทุนการผลิต วางแผนชำระภาษีให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
- งานจัดทำบัญชี : รับทำบัญชีรายเดือน บัญชีเงินเดือน ปิดงบการเงิน จัดทำงบเพื่อส่งผู้บริหาร โดยผู้ทำบัญชี (CPD)
- งานตรวจสอบ : รับตรวจสอบภายใน ตรวจงบการเงิน โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาติ (CPA)
บริการงานด้านขอใบอนุญาต ร่างสัญญาแปลและรับรองเอกสาร
- งานขอใบอนุญาติ: ใบอนุญาตทำงาน(Work Permit) ขอและต่ออายุวีซ่า(Visa)
- ใบอนุญาตตั้งโรงงานบัตรผู้ส่งออกใบอนุญาตผลิตอาหาร ใบอนุญาติประกอบธุรกิจท่องเที่ยว
- บริการเป็นที่ปรึกษา งานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ นิติบุคคล การร่างสัญญา ต่างๆ ฯลฯ
- บริการแปลเอกสารและรับรองเอกสารราชการ วิชาการและอื่นๆ
สินค้าและบริการด้านอื่นๆ
- จำหน่ายโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปต่างๆพร้อมติดตั้งเช่น Express Accounting
- บริการ รับทำเว็บไซต์ ทำการตลาดออนไลน์(ลูกค้าทำบัญชีรายเดือน ฟรี)
- บริการเขียนโปรแกรม บริหารงาน จัดการระบบภายใน โดยทีมงาน วิศวกร มืออาชีพ
- บริการติดตั้งระบบแลน(Lan)ภายในออฟฟิศ เพื่อแชร์ไฟล์โปรแกรมเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
บริษัท ชลธี บิสซิเนส กรุ๊ป จำกัด
ให้บริการ ด้าน จดทะเบียนบริษัท การจัดตั้งธุรกิจ รับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท ทั่วไทย รับเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบภายใน เขียนแผนธุรกิจ การตลาด สื่อโฆษณา การเงิน แรงงาน กฎหมาย ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์พร้อมด้วยบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ราคาเป็นธรรมและซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา
จดทะเบียนบริษัทเขตบางบอน | จดทะเบียนบริษัทเขตทุ่งครุ | จดทะเบียนบริษัทเขตทวีวัฒนา | จดทะเบียนบริษัทเขตบางนา | จดทะเบียนบริษัทเขตคลองสามวา | จดทะเบียนบริษัทเขตวังทองหลาง | จดทะเบียนบริษัทเขตสะพานสูง | จดทะเบียนบริษัทเขตคันนายาว | จดทะเบียนบริษัทเขตสายไหม | จดทะเบียนบริษัทเขตหลักสี่ | จดทะเบียนบริษัทเขตบางแค | จดทะเบียนบริษัทเขตวัฒนา | จดทะเบียนบริษัทเขตลาดพร้าว | จดทะเบียนบริษัทเขตราชเทวี | จดทะเบียนบริษัทเขตดอนเมือง | จดทะเบียนบริษัทเขตจอมทอง | จดทะเบียนบริษัทเขตสวนหลวง | จดทะเบียนบริษัทเขตคลองเตย | จดทะเบียนบริษัทเขตประเวศ | จดทะเบียนบริษัทเขตบางคอแหลม | จดทะเบียนบริษัทเขตจตุจักร | จดทะเบียนบริษัทเขตบางซื่อ | จดทะเบียนบริษัทเขตสาทร | จดทะเบียนบริษัทเขตบึงกุ่ม | จดทะเบียนบริษัทเขตดินแดง | จดทะเบียนบริษัทเขตบางพลัด | จดทะเบียนบริษัทเขตราษฎร์บูรณะ | จดทะเบียนบริษัทเขตหนองแขม | จดทะเบียนบริษัทเขตภาษีเจริญ | จดทะเบียนบริษัทเขตบางขุนเทียน | จดทะเบียนบริษัทเขตบางกอกน้อย | จดทะเบียนบริษัทเขตตลิ่งชัน | จดทะเบียนบริษัทเขตคลองสาน | จดทะเบียนบริษัทเขตห้วยขวาง | จดทะเบียนบริษัทเขตบางกอกใหญ่ | จดทะเบียนบริษัทเขตธนบุรี | จดทะเบียนบริษัทเขตพญาไท | จดทะเบียนบริษัทเขตสัมพันธวงศ์ | จดทะเบียนบริษัทเขตยานนาวา | จดทะเบียนบริษัทเขตลาดกระบัง | จดทะเบียนบริษัทมีนบุรี | จดทะเบียนบริษัทเขตพระโขนง | จดทะเบียนบริษัทเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย | จดทะเบียนบริษัทเขตปทุมวัน | จดทะเบียนบริษัทเขตบางกะปิ | จดทะเบียนบริษัทเขตบางเขน | จดทะเบียนบริษัทเขตบางรัก | จดทะเบียนบริษัทเขตหนองจอก | จดทะเบียนบริษัทเขตดุสิต | จดทะเบียนบริษัทเขตพระนคร