จดทะเบียนบริษัทสิงหนคร โทร:083-622-5555
อำเภอสิงหนครมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสทิงพระ
ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสงขลาและอำเภอหาดใหญ่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอควนเนียง และอำเภอปากพะยูน (จังหวัดพัทลุง)
"จดทะเบียนบริษัทจังหวัดสงขลา บริการรับจดทะเบียนบริษัททุกประเภท"
อำเภอสิงหนครเป็นอำเภอเก่าแก่ เมื่อเจ้าพระยากรุงทองสร้างเมืองสทิงพระ ได้ยกเมืองสิงหนครเป็นเมืองจัตวา มีนามว่า เมืองคชราชา จากตำนานกล่าวว่า เหตุที่ได้ชื่อว่าคชราชานั้น เมื่อเจ้าพระยากรุงทองออกเดินป่าตามทางลงมาทางได้ ได้จับช้างอันมีลักษณะดีงานสรรพด้วยคุณลักษณะที่ต้องตามตำราพรหมศาสตร์ จึงนำช้างที่จับมาได้นั้นผูกเป็นช้างประจำเมืองแล้วให้มีการมหรสพสมโภช 3 วันแล้วตั้งชื่อเมืองตามนามช้างว่า "คชราชา"
เมืองสิงหนครแรกตั้งเมื่อ พ.ศ. 1899 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 รายนามเจ้าเมืองในช่วงต้นนั้นไม่ปรากฏ ปรากฏรายนามเจ้าเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2146 เป็นต้นไป คือ
ตวนกูดะโต๊ะ โมกอลล์ 2146-2163
สุลต่านสุไลมาน ชาห์ รามาธิบดี 2163-2212
สุลต่านมุสตาฟา 2212-2223
ตั้งแต่ พ.ศ. 2223 เป็นต้นไป เมืองสงขลากลายเป็นเมืองร้าง
หลักฐานของไทยและต่างชาติต่างระบุว่า เจ้าเมืองสงขลาหัวเขาแดงเป็นมุสลิม ในพงศาวดารเมืองสงขลากล่าวว่า สุลต่านสุไลมานเป็นแขกชาวชวาจากเมืองลาไสย เกาะสุมาตรา บันทึกของชาวดัตช์ปี พ.ศ. 2162 เรียกว่าโมกุล และบันทึกของพ่อค้าชาวอังกฤษได้บอกว่า ดะโต๊ะ โมกอลล์ เมืองสงขลาตามแผนกัลปนาวัดต่าง ๆ ขึ้นวัดพะโคะนั้น โมกอลล์เข้ายึดครอง ปรากฏข้อเท็จจริงในแผนผังว่าเป็นชุมชนท่าเรือที่มีคนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว มีป้อมปืนตั้งอยู่บนบริเวณใกล้เคียงเมืองสงขลา ก็บ้านของราษฎรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-23 ที่เมืองนครศรีธรรมราชเปลี่ยนฐานะจากเมืองพระยามหานครของกรุงสุโขทัยไปสู่ฐานะหัวเมืองของรัฐบาลกลางกรุงศรีอยุธยาที่พยายามขยายพระราชอาณาเขตไปโดยการลดอำนาจบทบาทและอิทธิพลในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เมืองนครศรีธรรมราชถูกแบ่งออกเป็นตัวเมืองย่อย 4 เมืองคือ นครศรีธรรมราชเป็นเมืองเอก มีเมืองไชยา เมืองชุมพร และเมืองพัทลุงเป็นเมืองตรี สภาพเช่นนี้ทำให้ศูนย์อำนาจท้องถิ่นในภาคใต้ (เช่น เมืองนครศรีธรรมราช) ถูกแบ่งออกเป็นเสี่ยง ๆ และอ่อนแอ จึงเป็นโอกาสให้ดะโต๊ะ โมกอลล์ ก่อตั้งเมืองสงขลาของกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ตามสภาพภูมิศาสตร์เมืองสงขลาขึ้นอยู่กับพัทลุงแต่ในระยะดังกล่าวเมืองพัทลุงตกใต้อิทธิพลเมืองนครศรีธรรมราช มีหน้าที่ดูแลเมืองสงขลาด้วยในฐานะที่เป็นหัวเมืองถวายดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการต่อกรุงศรีอยุธยา
แม้เมืองสงขลาจะขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาผ่านนครศรีธรรมราช แต่เจ้าเมืองก็มีอำนาจและค่อนข้างจะเป็นอิสระจากรัฐบาลกลาง โดยสามารถที่จะอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้าไปทำการค้าอย่างเสรี ไม่ต้องเสียภาษีเพียงแค่เสียของกำนัลเท่านั้น ฐานะของเจ้าเมืองสงขลาจึงแตกต่างไปจากเมืองพัทลุงและเมืองนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่มาจากส่วนกลาง อำนาจของเจ้าเมืองสงขลาน้อยกว่าเจ้าเมืองทั้งสอง และคงจะทัดเทียมกับเจ้าเมืองปัตตานีซึ่งมีฐานะเช่นเดียวกัน
การขยายตัวของเมืองสงขลาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างปี พ.ศ. 2164-2166 เมืองสงขลาเริ่มเป็นอิสระจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ่อค้าชาวดัตช์ได้มาตั้งสถานีในเมืองสงขลาและเริ่มมีอิทธิพลและความมั่นคงขึ้น หากเดินทางบนถนนเลียบฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ผ่านทางหัวเขาแดงซึ่งอยู่ในตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จะพบว่ามีป้อมโบราณเรียงรายอยู่หลายป้อมทั้งบนยอดเขาเชิงเขาและบริเวณรอบที่ราบของเทือกเขา ถัดจากป้อมออกไปทางด้านเหนือมีคูของตัวเมืองขนาดใหญ่สามารถใช้เป็นท่าเรือ ซึ่งปัจจุบันตื้นเขินแต่มีแนวพอจะมองเห็นได้ถึงที่ตั้งของเมืองโบราณที่เป็นเมืองท่าค้าขาย
บริเวณที่เรียกในปัจจุบันว่าบ้านบนเมือง ริมถนนระหว่างช่วงปลายสะพานติณสูลานนท์ใกล้กับป้อมโบราณป้อมหนึ่ง คือบริเวณที่ตั้งของเมืองขนาดใหญ่แห่งนี้ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร หรือ 625 ไร่ ใหญ่กว่าเมืองสทิงพระ 10 เท่า มีหลักฐานปรากฏบันทึกของพ่อค้าชาวยุโรปที่เดินทางมาค้าขายและเรียก Singora ตามสำเนียงชาวพ่อค้าเปอร์เซิยและอาหรับที่เรียกกันว่า เมืองซิงหะรา แปลว่า เมืองบนยอดเขาที่มีทะเล จนกระทั่งเพี้ยนมาจนเป็นชื่อ เมืองสงขลา ในเวลาต่อมา อนึ่ง จากข้อสันนิษฐานของนักวิชาการและนักโบราณคดีกล่าวว่า "สงขลา" ยังอาจมีที่มามาจากคำว่า สงขาล ซึ่งแปลว่าดงเสือ ที่ปรากฏคำบอกเล่าถึงการจับเสือ และการสร้างศาลาริมทางไว้หลบซ่อนเสือ (เรียกว่า ศาลาหลบเสือ) อย่างมิดชิดที่ยังปรากฏให้เห็นในท้องที่ตำบลหัวเขาในปัจจุบัน
ประจวบกับในปี พ.ศ. 2171 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคต เกิดความไม่สงบขึ้นในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้รับสถาปนาขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมืองสงขลาจึงถือโอกาสปลดแอกจากไทย ปี พ.ศ. 2158 กองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ยกกองทัพมาปราบ แต่ขาดกำลังสนับสนุนจากไพร่พลท้องถิ่นโดยเฉพาะจากนครศรีธรรมราช และป้อมปราการแข็งแกร่งเกินกำลังจะปราบลงได้
พระเจ้าเมืองสงขลาสามารถตั้งตัวเป็นอิสระเป็นเวลาถึง 26 ปีตลอดสมัยพระเจ้าปราสาททอง หลังจากเจ้าเมืองสงขลาองค์แรกสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2211 มุสตาฟาโอรสก็ตั้งตนขึ้นเป็นพระเจ้าเมืองสงขลาองค์ที่สอง เป็นช่วงของการขยายอำนาจของเมืองสงขลาไปยังหัวเมืองใกล้เคียง โดยเฉพาะเมืองพัทลุง ปัตตานี และนครศรีธรรมราช
จนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ขึ้นครองราชย์ ต่อมาทรงเห็นว่าอังกฤษกำลังเข้าไปมีอิทธิพลในเมืองสงขลาแทนดัตช์ จงยกทัพมาตีเมืองสงขลาในปี พ.ศ. 2223 โดยใช้กลยุทธ์ด้วยการเกลี้ยกล่อมตัดสินบนทหารรักษาป้อมเข้าโจมตีและได้เผาผลาญเมืองจนวอดวาย คงเหลือแต่ป้อมและซากป้อม 13 ป้อม ที่ราบ 5 ป้อม บนหัวเข้าแดงปากน้ำ 1 ป้อม บนเขาม่วงค่าย 3 ป้อม เชิงเขาน้อย 1 ป้อม และริมอ่าวไทย 3 ป้อม ซึ่งปัจจุบันบางป้อมได้กลายเป็นทะเลแต่ยังเห็นซากทับกองอยู่ในบริเวณท่าเรือน้ำลึก
ปัจจุบันยังเหลือป้อมที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ 9 ป้อม คือป้อมที่เรียงรายอยู่บนเชิงหัวเขาแดง บนเขาม่วงค่าย และป้อมเชิงเขาน้อย มีลักษณะเป็นป้อมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ละด้านมีช่องเสมาสำหรับวางปืนใหญ่ ยังยืนยันถึงความแข็งแกร่งของป้อมปราการป้องกันเมือสงขลาเขาแดง
ส่วนร่องรอยของการเข้ามาพำนักที่สงขลามีหลักฐานในปัจจุบันคือ ที่ฝังศพของพวกดัตช์ 22 สุสาน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสงขลาริมทางถนนสงขลา-ระโนดที่หัวเขาแดงไปทางทิศเหนือประมาณ 1,700 เมตร อยู่ใกล้กับที่ฝังศพสุสานสุลต่านสุไลมาน ชาวบ้านเรียกว่าทวดหุมหรือมะระหุมตั้งอยู่ในตำบลหัวเขา ที่ฝังศพมีศาลาคร่อมก่อด้วยอิฐไม่มีฝาผนัง หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องดินเผา เป็นที่เคารพของชาวบ้านหัวเขา และเชื่อกันว่าลูกหลานมะระหุ่มคือต้นตระกูลของสกุล ณ พัทลุง ซึ่งไปมีอำนาจเป็นเจ้าเมืองพัทลุงในช่วงหลัง
ในเวลาต่อมา ท้องที่ที่ตั้งเป็นเมืองสิงหนคร (ชิงหะรา ซิงหะรา หรือ "สงขลา") นี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองสงขลา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2531 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ 11 ตำบลออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสิงหนคร โดยใช้ชื่อตามชื่อเมืองสงขลาโบราณข้างต้น และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอสิงหนครเป็น อำเภอสิงหนคร ตามประกาศราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2534 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
อำเภอสิงหนครแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 77 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ชิงโค | (Ching Kho) | 10 หมู่บ้าน | 7. | ปากรอ | (Pak Ro) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||
2. | สทิงหม้อ | (Sathing Mo) | 6 หมู่บ้าน | 8. | ป่าขาด | (Pa Khat) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||
3. | ทำนบ | (Thamnop) | 7 หมู่บ้าน | 9. | หัวเขา | (Hua Khao) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||
4. | รำแดง | (Ram Daeng) | 7 หมู่บ้าน | 10. | บางเขียด | (Bang Khiat) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||
5. | วัดขนุน | (Wat Khanun) | 8 หมู่บ้าน | 11. | ม่วงงาม | (Muang Ngam) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||
6. | ชะแล้ | (Chalae) | 5 หมู่บ้าน |
ท้องที่อำเภอสิงหนครประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองสิงหนคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชิงโค (เฉพาะหมู่ที่ 1-4 และบางส่วนของหมู่ที่ 5 และ 6) ตำบลทำนบ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1 และ 3) ตำบลสทิงหม้อทั้งตำบล และตำบลหัวเขาทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองม่วงงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงงามทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลชะแล้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะแล้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชิงโค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชิงโค (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองสิงหนคร)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทำนบ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองสิงหนคร)
- องค์การบริหารส่วนตำบลรำแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรำแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดขนุนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากรอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากรอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าขาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขียด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเขียดทั้งตำบล
โปรโมชั่น จดทะเบียนบริษัทกับเราวันนี้
โปรโมชั่น สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่
พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่
ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม
โปรโมชั่น ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี
พิเศษ !!! ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี
เว็บไซต์ ราคาพิเศษ 3,500 สำหรับบริษัทพร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท
ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่าระบบออนไลน์
ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ
การจดทะเบียนธุรกิจ ประเภทต่างๆ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับกิจการที่เราจะทำ จำเป็นจะต้องพิจารณาให้ละเอียด เพื่อการเริ่มต้นที่ดี
คำถามที่พบบ่อย ?
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ร้านค้าจดทะเบียนบริษัทที่ไหน? จดบริษัทจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? จดบริษัทต้องใช้ผู้ก่อตั้งกี่คน? จดบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่? ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร บริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? บริษัทจดคนเดียวได้ไหม? บริษัทสามารถใส่วัตถุประสงค์ได้กี่ข้อ? จะรับงานราชการต้องจดทะเบียนแบบไหน? บริษัทจะต้องขึ้นประกันสังคมหรือไม่? ต้องมีลูกจ้างกี่คนถึงจะขึ้นประกันสังคม? จะเริ่มทำบัญชียังไง? ลูกค้าให้จดเป็นนิติบุคคล จะจดแบบไหนดี? มีชาวต่างชาติถือหุ้นด้วยจะจดบริษัทได้ไหม? การตั้งชื่อบริษัทควรจะตั้งอย่างไร? ถ้าเปิดบริษัทแต่ยังไม่มีรายได้ต้องเสียค่าทำบัญชีไหม ต้องปิดงบการเงินหรือไม่? ถ้ามีชื่อในบริษัทอื่นแล้ว จะตั้งบริษัทใหม่ได้ไหม? ทำบิล ทำใบกำกับภาษี ไม่เป็น จะทำยังไง? กรรมการบริษัท คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร? ผู้ถือหุ้น คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร ? จะเปิดบัญชีกับธนาคาร ในนามบริษัทต้องทำอย่างไร? ที่ตั้งบริษัท ใช้บ้านที่ต่างจังหวัดได้หรือไม่?……..
โทรหาเรา เพื่อขอรับคำปรึกษา โทร : 083-622-5555