รายจ่ายต้องห้ามที่ ไม่สามารถใช้ในกิจการได้

หากพูดถึงเรื่องวิถีของการดำเนินกิจการที่จดทะเบียนในนามนิติบุคคลจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องให้ความสำคัญหลายอย่าง เพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นไปด้วยความราบรื่นและเป็นไปอย่างถูกต้องตามข้อกำหนดอันพึงมี โดยสิ่งปลีกย่อยเหล่านั้นจะเกี่ยวพันกับเม็ดเงินที่หมุนเวียนอยู่ในการดำเนินธุรกิจโดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป อย่างเงื่อนไขในการจัดการ “รายจ่ายต้องห้าม” ซึ่งนอกจากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แล้วก็มีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่นิติบุคคลต่าง ๆ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบการเสียภาษีเช่นกัน

ลักษณะของ รายจ่ายต้องห้าม เป็นอย่างไร

ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับกรมสรรพากรอยู่เสมอ ซึ่งข้อกำหนดของกรมสรรพากรนั้นก็มีอยู่มากมาย โดยในหัวข้อนี้จะพูดถึงลักษณะของ ค่าใช้จ่ายต้องห้าม ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อกำหนดทางสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีที่จะต้องหักออกจากกำไรสุทธิของการดำเนินกิจการบริษัท โดยลักษณะของ ค่าใช้จ่ายต้องห้าม ที่ไม่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณภาษีได้ดังต่อไปนี้

1. ค่ารับรอง

ค่ารับรอง เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหารค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ เป็นค่าสิ่งของให้ไม่เกินคนละ 2,000 บาท และบุคคลที่รับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้างของกิจการ เว้นแต่ลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือรับบริการนั้นด้วย และเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรอง และค่ารับรองนั้นต้องได้รับการอนุมัติจากกรรมการค่ารับรองสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้แต่ไม่เกิน 0.3% ของรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิ และจะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท

2. ค่าเสื้อผ้า หน้าผม หรือ เครื่องประดับคณะกรรมการ

เนื่องจากรายจ่ายเหล่านี้ ถือเป็นรายจ่ายส่วนตัวจะไม่สามารถนำมาใช้ ที่เป็นกิจการที่ใช้ตัวเองในการทำงานเช่น ดารา,เป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ยกเว้นกรณี นักแสดง หรือวิทยากร เป็นต้น

3. เบี้ยปรับ เงินเพิ่มทางภาษีอากร

เบี้ยปรับ เงินเพิ่มทางภาษีอากร ค่าปรับอาญาและภาษี เป็นรายจ่ายต้องห้ามเพราะกรมสรรพากรมองว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ แต่มันเกิดจากการที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายได้รับการลงโทษจากรัฐ จึงนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีของบริษัทไม่ได้ โดย

  • เบี้ยปรับเป็นมาตรการการลงโทษทางแพ่งกับผู้ประกอบการที่เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
  • เงินเพิ่ม เป็นมาตรการการลงโทษทางแพ่งกับผู้ประกอบการที่ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีครบถ้วนภายในกำหนดเวลา
  • ค่าปรับทางอาญาเป็นจำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิด ตามกฎหมาย รวมถึงภาษีซื้อของกิจการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อถูกเรียกเก็บภาษีขายจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการผู้ที่ถูกเรียกเก็บภาษีก็นำภาษีนั้นมาเครดิตโดยหักออกจากภาษีขายของตนในแต่ละเดือนภาษีหรือขอคืนภาษีที่ถูกเรียกเก็บนั้น

4. เงินเดือนของผู้ถือหุ้น  ส่วนที่จ่ายเกินสมควร

เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรผู้ถือหุ้น (หรือเจ้าของกิจการ) สมควรได้ผลตอบแทนจากกิจการเป็นเงินเดือนบางคนถือโอกาสความเป็นผู้บริหาร จ่ายเงินเดือนตัวเองเยอะ ๆ เพื่อลดหย่อนภาษี แม้จะไม่ได้ระบุไว้ว่าเท่าไรถึงนับว่าสูงเกินแต่ก็ต้องสมเหตุสมผลกับผลประกอบการบริษัท ชั่วโมงทำงาน และประสบการณ์ หากผิดไปจากนี้ต้องระวังเจ้าพนักงานมีอำนาจพิจารณารายจ่ายประเภทเงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้น
ส่วน เปรียบเทียบกับรายอื่นซึ่งอยู่ในฐานะหรือลักษณะเดียวกัน อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน หรือทำเลเดียวกัน ประกอบกิจการค้าอย่างเดียวกันหรือลักษณะเดียวกัน

5. ค่าใช้จ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล

ค่าใช้จ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล

  • รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการโดยผู้รับไม่มีความผูกพันในทางธุรกิจการงานกับผู้ให้ เช่น ค่าน้ำมัน
    เงินช่วยเหลืองานบุญ ค่าโทรศัพท์ค่าใช้จ่ายแบบนี้ถ้าไม่มีกำหนดในระเบียบชัดเจนถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว
  •  รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปโดยความรักใคร่ชอบพอกันเป็นการส่วนตัว ซึ่งผู้รับไม่มีความผูกพันว่าจะต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตอบแทน หรือเรียกว่า การให้เปล่า
  • รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการกุศล หมายถึง รายจ่ายที่จ่ายไปในการทำบุญทำทาน บริจาคทรัพย์สินช่วยการศึกษา การศาสนา การสังคมสงเคราะห์หรือการอื่น ๆ ยกเว้นการบริจาคให้องค์กรสาธารณกุศลสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เช่นโรงพยาบาลของรัฐ วัดวาอาราม สถานศึกษา สภากาชาดไทย และอื่น ๆ สามารถตรวจสอบรายชื่อในเว็บไซต์กรมสรรพากร

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาคำนวณภาษีได้ซึ่งกล่าวถึงไปก่อนหน้าจะกลายเป็น ค่าใช้จ่ายต้องห้าม ไปทันที หากเอกสารในการรับเงินที่ใช้อ้างอิงไม่มีความสมบูรณ์ ดังนั้น บริษัทจะต้องมีความระวังในการเก็บหลักฐานการรับเงินให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร และจะต้องนำมาพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้จริงจึงจะถือว่าใช้ได้ เนื่องจากข้อสังเกตของ ค่าใช้จ่ายต้องห้าม ต้องไม่เป็นการจ่ายออกไปแบบส่วนตัวและไม่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร

บทสรุป

การดำเนินกิจการของบริษัทมีระเบียบหลายอย่างที่ต้องปฏิบัติตามเคร่งครัด เพื่อให้กิจการดำเนินไปภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรอย่างการมี รายจ่ายต้องห้าม ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างทำธุรกิจก็เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถนำมาใช้คำนวณภาษีได้เกินความจำเป็น เพราะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายในองค์กรไม่ได้สามารถนำมาใช้คำนวณการหักภาษีได้ทุกอย่าง ดังนั้น การกำหนดขอบเขตค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมจึงจะเป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจมากกว่า และเจ้าของธุรกิจเองก็ต้องหมั่นศึกษาข้อกำหนดทางกฎหมายเช่นกันเพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างราบรื่น
สนใจใช้บริการจดทะเบียนบริษัท บัญชี ภาษี
👉🏻โดย เพิ่มไลน์แอด Line@ : @chonlatee
หรือกดเพิ่มเพื่อนที่ลิ้งค์ได้เลยค่ะ https://lin.ee/qMIpQ8m
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม
📞โทร : 0836225555
รับจดทะเบียนบริษัท By ชลธี
——–
รับจดทะเบียนบริษัท,รับทำบัญชี,รับจดทะเบียนบริษัท ราคาถูก,รับจดทะเบียนบริษัท ทั่วไทย,รับจดทะเบียน ออนไลน์,รับจดทะเบียนบริษัท ต่างชาติ,รับจดทะเบียนบริษัท ด่วน,รับจดทะเบียนบริษัท ร้านค้า,รับจดทะเบียนบริษัท คนเดียว , รับจดทะเบียนบริษัท ที่ไหน , รับจดทะเบียนบริษัท ช่วงโควิด-19 , รับจดทะเบียนบริษัท ท่องเที่ยว , รับจดทะเบียนบริษัท ก่อสร้าง , จดทะเบียนบริษัท ที่ไหนดี , จดทะเบียนบริษัท ทำอย่างไร
รายจ่ายต้องห้ามที่ ไม่สามารถใช้ในกิจการได้