“เปลี่ยนผู้ถือหุ้น ต้องทำอย่างไร”
ขึ้นชื่อว่าธุรกิจ เมื่อมีการลงทุนร่วมกัน การจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด เพื่อแสดงความโปร่งใส และการดำเนินกิจการจะได้เข้าระบบแบบแผน มีความชัดเจนในหน้าที่ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนแต่ละคน ปันผลต่างๆ และผลประโยชน์ที่จะได้รับหากมีการ เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ สัดส่วนลงทุนจะเป็นตัวชี้วัดบทบาทของหุ้นส่วนนั้นๆ เช่น บริษัทจำกัด ผู้ที่ถือหุ้น 20% สามารถเรียกร้องให้มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นได้ 51% จำนวนเสียงขั้นต่ำสำหรับการโหวตเพื่อดำเนินการบางอย่าง เช่น การจ่ายเงินปันผล การเปลี่ยนแปลงกรรมการ 75% จำนวนเสียงขั้นต่ำสำหรับการโหวตมติพิเศษ ได้แก่ การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับ การเพิ่มทุนโดยออกหุ้นใหม่ การออกหุ้นใหม่ให้ชำระค่าหุ้นด้วยสิ่งอื่น นอกจากชำระด้วยเงิน การลดทุน การเลิกบริษัท การควบบริษัทเข้าด้วยกัน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าประเด็นหลักสำคัญสำหรับสัดส่วนลงทุน เมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องเกิดการ เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ก็จะเป็นระบบและมีความชัดเจนมากกว่า ซึ่งหลักการต่างๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น สามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้
การเปลี่ยนผู้ถือหุ้น คืออะไร?
การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น คือ การซื้อขายหุ้นระหว่างผู้ถือหุ้นรายเก่าและรายใหม่ สามารถทำการเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องแจ้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องของภายในองค์กร ถ้ามีการตกลงซื้อขายหุ้นระหว่างกัน เจ้าหน้าที่กรรมการบริษัทจะแก้ไขภายในสมุดทะเบียนหุ้นให้
โดยต้องนำส่ง ‘บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)’ ฉบับแก้ไขให้กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เจ้าหน้าที่กรรมการบริษัทจะจัดเตรียมเอกสาร เป็นสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือบอจ.5 ฉบับใหม่ และทำหนังสือนำส่ง เพื่อเป็นการยื่นแจ้งกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยการนำส่งในปัจจุบันค่อนข้างมีความสะดวกมากขึ้น เพราะสามารถยื่นส่งผ่านทางเว็บไซต์ได้
ในช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนรายชื่อผู้ถือหุ้น สามารถทำการเปลี่ยนเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะปกติแล้วทางบริษัทจะต้องมีการนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทุกปี เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนให้ข้อมูลอยู่ในสถานะปัจจุบัน และถ้ามีการเปลี่ยนรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นคนใหม่อย่างกะทันหันหรือระหว่างปี เพียงแค่นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับใหม่ไป
รูปแบบการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นมีอะไรบ้าง?
การดำเนินธุรกิจที่ลงทุนร่วมกัน จะทำให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย อย่าง การประชุม, เงินปันผล, การออกเสียง และการได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนจากบริษัท เป็นต้น ซึ่งก่อนที่จะได้รับสิทธิเหล่านั้น จะต้องมีการตกลงและจัดทำเอกสาร ที่ประกอบไปด้วย ‘รายชื่อของผู้ถือหุ้น’ และ ‘สัดส่วนของผู้ถือหุ้น’ จึงทำให้รูปแบบการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นมีรายละเอียด ดังนี้
รายชื่อของผู้ถือหุ้น
ในกรณีที่มีการซื้อและขายหุ้นที่มีอยู่ภายในบริษัท จะต้องมีการเปลี่ยนรายชื่อของผู้ถือหุ้น ถือว่าเป็นการเพิ่ม – ถอนรายชื่อ ซึ่งก่อนที่จะเริ่มทำการถอดหุ้นออก ต้องตกลงราคาในการซื้อหุ้นของผู้ที่ถอดหุ้น เพื่อเป็นการแจ้งให้ผู้บริหารได้รับทราบและหาบุคคลอื่นมาถือหุ้นแทน ทำให้ผู้ที่ถอนหุ้นได้รับเงินลงทุนของผลประโยชน์จากค่าชดเชย
ทางบริษัทสามารถดำเนินการเปลี่ยนผู้ถือหุ้น โดยที่ไม่ต้องแจ้งกับหน่วยงานใดๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่กรรมการจะเป็นบุคคลแก้ไขรายละเอียดให้ แต่ถ้าต้องการให้ข้อมูลอยู่ในสถานะปัจจุบัน ก็ทำการยื่นแบบ บอจ.5 กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สัดส่วนของผู้ถือหุ้น
จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนจำนวนหุ้น หรือเปลี่ยนสัดส่วนที่แบ่งกัน โดยต้องเกิดจากความสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้โอนกับผู้รับ ถ้าบริษัทของคุณไม่ได้มีข้อบังคับในการโอนหุ้น ต้องทำหนังสือที่มีพยานเพื่อเป็นการยืนยัน ซึ่งการโอนจะต้องทำตามแบบเอกสารซื้อขาย และโอนหุ้น ไม่เช่นนั้นจะทำให้การโอนถือว่าไม่สำเร็จ
การโอนหุ้นสามารถทำให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยที่ไม่ต้องแจ้งกับทางนายทะเบียนจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อไหร่ที่ทางบริษัทได้บันทึกการโอนหุ้นในทะเบียนเป็นข้อมูลล่าสุดแล้ว จะทำให้การโอนถือว่าเสร็จสมบูรณ์
วิธีการ เปลี่ยนผู้ถือหุ้น ต้องทำอย่างไร?
เอกสารที่ต้องเตรียม
สำเนาบัตรประชาชน
สำเนาบัตรประชาชนที่จัดเตรียมจะต้องเป็นของบุคคลที่เข้ามาถือหุ้นคนใหม่ ถือว่าเป็นเอกสารที่เอาไว้ใช้กับ สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) และเพื่อทำการระบุอาชีพ
หนังสือสัญญาโอนหุ้น
เป็นสัญญาที่ควรมี เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาฟ้องร้อง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้น แต่ผู้ถือหุ้นตัวจริงไม่รู้เรื่องที่เกิดขึ้น โดยการโอนจะต้องมีการเซ็นชื่อรับรองของผู้โอนคนเก่ากับผู้รับคนใหม่
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ในกรณีที่มีการโอนหุ้นเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำ สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือ บอจ.5 เป็นฉบับใหม่ล่าสุด ที่มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะประกอบไปด้วยรายละเอียดที่สำคัญ
- ชื่อ เลขทะเบียน ของบริษัท
- วันที่ของทะเบียนผู้ถือหุ้น
- มูลค่าของทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้น
- จำนวนของผู้ถือหุ้นทั้งหมดภายในบริษัท
- รายละเอียดของผู้ถือหุ้นในแต่ละคน
หนังสือนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
หลังจากที่มีการทำสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ฉบับใหม่ ต้องส่งควบคู่กับ หนังสือนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เพื่อเป็นการขอส่งแบบ โดยให้กรรมการลงรายชื่อและประทับตราให้ถูกต้อง แต่ถ้าไม่ต้องการทำหนังสือนำส่งก็สามารถทำได้ ในวันที่มีประชุมสามัญประจำปีพร้อมกับงบการเงิน
แบบขอคัดรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับใหม่
วิธีในการขอคัดรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับใหม่ สามารถทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และต้องทำการชำระค่าธรรมเนียม 50 บาท
การยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้น ต้องจัดเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย ครบถ้วน และถูกต้อง จึงจะสามารถทำการส่งให้กับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ โดยมีทั้งหมด 2 ช่องทาง ได้แก่
- ยื่นด้วยตนเอง สำหรับใครที่ไม่ได้มีปัญหากับเรื่องของการเดินทาง สามารถยื่นเอกสารส่งด้วยตนเองได้ ตามสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 6 เขต หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด
- ยื่นผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการยื่นส่งที่สะดวกมากที่สุด แต่ต้องมีการเตรียมสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ในไฟล์ .xlsm หากมีการยืนยันสถานะสำเร็จ ให้พิมพ์ใบนำส่งข้อมูลผ่าน DBD e-Filing ที่มาพร้อมกับเลขที่อ้างอิงวันที่ยื่น เพื่อเก็บเป็นหลักฐาน
หากใครที่กำลังดำเนินธุรกิจและมีการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมกับมีผู้ถือหุ้นร่วมด้วย เมื่อถึงช่วงที่ต้องทำการเปลี่ยนผู้ถือหุ้น ให้จัดเตรียมเอกสารอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น สำเนาบัตรประชาชน, หนังสือสัญญาโอนหุ้น, แบบ บอจ.5 และหนังสือนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เป็นต้น เพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ
รับจดทะเบียนบริษัท,รับทำบัญชี,รับจดทะเบียนบริษัท ราคาถูก,รับจดทะเบียนบริษัท ทั่วไทย,รับจดทะเบียน ออนไลน์,รับจดทะเบียนบริษัท ต่างชาติ,รับจดทะเบียนบริษัท ด่วน,รับจดทะเบียนบริษัท ร้านค้า,รับจดทะเบียนบริษัท คนเดียว , รับจดทะเบียนบริษัท ที่ไหน , รับจดทะเบียนบริษัท ช่วงโควิด-19 , รับจดทะเบียนบริษัท ท่องเที่ยว , รับจดทะเบียนบริษัท ก่อสร้าง , จดทะเบียนบริษัท ที่ไหนดี , จดทะเบียนบริษัท ทำอย่างไร